วูดโรว์_วิลสัน
วูดโรว์_วิลสัน

วูดโรว์_วิลสัน

โทมัส วูดโรว์ วิลสัน (อังกฤษ: Thomas Woodrow Wilson) เป็นรัฐบุรุษ นักกฏหมาย และนักวิชาการชาวอเมริกันที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1913 ถึง ค.ศ. 1921 สมาชิกพรรคเดโมแครต วิลสันได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยพรินซตัน และเป็นผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์คนที่ 34 ก่อนที่จะเอาชนะในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1912 ในขณะที่เป็นประธานาธิบดี เขาได้ตรวจสอบกระบวนการความก้าวหน้าของนโยบายทางนิติบัญญัติที่หาตัวจับได้ยากจนกระทั่งโครงการสัญญาใหม่ในปี ค.ศ. 1933 เขายังได้เป็นผู้นำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 1917 มีการก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวในนโยบายต่างประเทศที่เป็นที่รู้จักกันคือ "พวกลัทธิวิลสัน" เกิดในสทอนตัน รัฐเวอร์จิเนีย วิลสันได้ใช้ชีวิตช่วงปีแรกๆในออกัสตา รัฐจอร์เจีย และโคลัมเบีย รัฐเซาท์แคโรไลนา ภายหลังจากได้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์(วิลสันเป็นอธิการบดีเพียงคนเดียวที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก) วิลสันได้สอนที่โรงเรียนต่างๆก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งเป็นอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยพรินซตัน ในช่วงที่เป็นผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 ถึง ค.ศ. 1913 วิลสันแตกหักกับหัวหน้าพรรคและเอาชนะกระบวนการการปฏิรูปก้าวหน้าหลายครั้ง ด้วยประสบความสำเร็จของเขาในนิวเจอร์ซียทำให้เขาได้มีชื่อเสียงระดับชาติในฐานะนักปฏิรูปที่ก้าวหน้า และเขาได้รับชัยชนะในการเสนอชื่อลงสมัครเลืองตั้งประธานาธิบดีที่งานประชุมพรรคเดโมแครตแห่งชาติ ปี ค.ศ. 1912 วิลสันได้เอาชนะประธานาธิบดีวิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ จากพรรคริพับลิกัน และผู้ท้าชิงตำแหน่งจากพรรคก้าวหน้าคือ ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ที่ชนะในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1912 กลายเป็นชาวใต้คนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนับตั้งแต่สงครามกลางเมืองอเมริกาในช่วงวาระแรก วิลสันได้เป็นประธานในกระบวนการของเสรีภาพใหม่ที่ก้าวหน้าของเขาในที่ประชุมภายในประเทศ สิ่งที่สำคัญอันดับแรกของเขาคือกระบวนการของกฏหมายภาษีอากร ปี ค.ศ. 1913 ซึ่งได้ลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและดำเนินการภาษีรายได้ของรัฐบาลกลาง ต่อมากฏหมายภาษีซึ่งดำเนินการในการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลกลาง และเพิ่มอัตราภาษีรายได้สูงสุดถึงร้อยละ 77 เปอร์เซ็นต์ วิลสันยังเป็นประธานของกระบวนการของกฏหมายเงินสำรองของรัฐบาลกลาง ซึ่งได้ก่อตั้งระบบธนาคารกลางในรูปแบบระบบเงินสำรองของรัฐบาลกลาง สองกฎหมายที่สำคัญคือ กฏหมายคณะกรรมมาธิการการค้าและกฏหมายป้องกันการผูกขาดเครย์ตัน(Clayton Antitrust Act) เป็นกระบวนการในวางระเบียบบังคับและแบ่งแยกผลประโยชน์ทางธุรกิจขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่า "ความน่าเชื่อถือ"(Trust) ด้วยความผิดหวังของผู้สนับสนุนชาวอเมริกัน-แอฟริกันที่มีต่อเขา วิลสันได้อนุญาตให้บางคนในสมาชิกคณะรัฐมนตรีของเขาให้ทำการแบ่งแยกเชื้อชาติออกจากกันในแผนกของพวกเขา เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้แพร่ลุกลามในปี ค.ศ. 1914 วิลสันยังคงถือนโยบายวางตัวเป็นกลางระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร-ฝ่ายมหาอำนาจกลาง เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งใหม่โดยเฉียดฉิวในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1916 เอาชนะกับผู้ท้าชิงจากพรรคริพันลิกัน Charles Evans Hughes ในต้นปี ค.ศ. 1917 วิลสันได้ถามต่อสภาคองเกรสสำหรับการประกาศสงครามต่อเยอรมนี ภายหลังจากที่เยอรมนีดำเนินนโยบายการสงครามเรือดำน้ำแบบไร้ขีดจำกัด และสภาคองเกรสได้ตอบรับในที่สุด วิลสันได้มีอำนาจในการระดมกองทัพในช่วงสงคราม แต่ก็ได้ทุ่มเทความพยายามของเขาในนโยบายการต่างประเทศ ได้คิดริเริ่มหลักการสิบสี่ข้อเป็นพื้นฐานสำหรับสันติภาพในช่วงหลังสงคราม ภายหลังจากเยอรมนีได้ลงนามสงบศึกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 วิลสันและผู้นำฝ่ายพันธมิตรคนอื่นๆได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 ที่วิลสันได้สนับสนุนให้มีการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศที่เป็นที่รู้จักกันคือ สันนิบาตชาติ สันนิบาติชาติได้จัดทำสนธิสัญญาแวร์ซายและสนธิสัญญาฉบับอื่นๆในเรียกร้องรับผิดชอบสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่วิลสันไม่สามารถโน้มน้าววุฒิสภาให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญาฉบับนี้หรือยินยอมให้สหรัฐเข้าร่วมสันนิบาตชาติ วิลสันได้ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบอย่างรุนแรงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1919 และไม่สามารถที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้อีกต่อไป เขาจึงลาออกในปี ค.ศ. 1921 และถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1924 นักวิชาการส่วนใหญ่ได้ให้อันดับแก่วิลสันว่าเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีแห่งสหรัฐที่ดี[1][2] แม้ว่าเขาจะได้รับคำวิจารณ์อย่างรุนแรงสำหรับการกระทำของเขาเกี่ยวกับการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ[3]

วูดโรว์_วิลสัน

รองประธานาธิบดี โทมัส อาร์. มาร์แชลล์
ลายมือชื่อ
คู่สมรส เอลเลน แอ็กซัน (1885-1914)
เอดิท บอลลิง เกลต์ (1915-1924)
ก่อนหน้า จอห์น แฟรงกลิน ฟอร์ต
พรรคการเมือง พรรคเดโมแครต
เกิด 28 ธันวาคม ค.ศ. 1856
สทอนทัน, รัฐเวอร์จิเนีย
ถัดไป เจมส์ ไฟรแมน ฟีเอเดอร์
วิชาชีพ นักการเมือง
อาจารย์มหาวิทยาลัย
เสียชีวิต 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 (67 ปี)
วอชิงตัน ดี.ซี.
ศาสนา เพรสไบทีเรียน