ลักษณะอาคาร ของ ศาลาพระเกี้ยว

ศาลาพระเกี้ยวเป็นอาคารคอนกรีตเสริมแรงด้วยเหล็ก (คอนกรีตเสริมเหล็ก) 2 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น ภายในชั้น 1 เป็นโถงขนาดใหญ่ปูพื้นด้วยไม้ ชั้น 2 เป็นชั้นลอยเกาะติดกับตัวอาคารด้านในรอบด้าน เพดานโปร่งสูง ผนังด้านข้างเป็นหน้าต่างกระจก รูปทรงโดยรวมของตัวอาคารออกแบบให้คล้ายพระเกี้ยว สัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2559 ศาลาพระเกี้ยวได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ให้ได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น[8]

ด้วยจุดประสงค์ของโครงการก่อสร้างศาลาพระเกี้ยวคือการเป็นอาคารศูนย์รวมกิจกรรมนิสิต ที่ตั้งของศาลาพระเกี้ยวจึงถูกเลือกให้รายล้อมด้วยอาคารคณะวิชา หน่วยงานและป้ายหยุดรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นจุดสัญจรสำคัญของนิสิตและผู้มาติดต่อมหาวิทยาลัย กลุ่มอาคารของคณะและหน่วยงานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงศาลาพระเกี้ยว เช่น คณะรัฐศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันภาษาและพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

  • ทางเข้าด้านหน้าศาลาพระเกี้ยว ปี พ.ศ. 2551
  • โครงสร้างเสารับน้ำหนักของศาลาพระเกี้ยว
  • ภายในศาลาพระเกี้ยว
  • ทางเข้าด้านหน้าหลังการซ่อมแซม พ.ศ. 2558

ใกล้เคียง

ศาลาพระเกี้ยว ศาลพระกาฬ (จังหวัดลพบุรี) ศาลพระภูมิ ศาลาเฉลิมกรุง ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ศาลาเฉลิมไทย ศาลาการเปรียญ ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ ศาลาแดง ศาลาแก้วกู่

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาลาพระเกี้ยว //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.civil.eng.chula.ac.th/news/2014/03/14/2... http://www.memohall.chula.ac.th/ http://www.memohall.chula.ac.th/article/%E0%B8%A8%... http://www.prm.chula.ac.th/cen31.html http://www.prm.chula.ac.th/projects.html http://www.chula.ac.th/th/archive/42119 http://www.iurban.in.th/inspiration/basic-of-the-p... http://www.asa.or.th/en http://www.asa.or.th/en/node/140800