ศาลาแก้วกู่
ศาลาแก้วกู่

ศาลาแก้วกู่

ศาลาแก้วกู่, อุทยานเทวาลัย หรือ วัดแขก เป็นอุทยานขนาด 42 ไร่ของสำนักปฏิบัติธรรมแก้วกู่ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในชุมชนสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ที่ประดิษฐานรูปปั้นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่จำนวนรวมกว่า 200 องค์ โดยประกอบด้วยพระพุทธรูป พระรูปของพระโพธิสัตว์ เทพเจ้าฮินดู บุคคลในคริสต์ศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และตัวละครจากรามเกียรติ์ อุทยานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ภายใต้แนวคิดว่า "ทุกศาสนาสามารถอยู่รวมกันได้" และให้เป็น "สถานที่แทนภาพดินแดนแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง" ในปี พ.ศ. 2521[2]ภายในอุทยาน ที่บริเวณฐานของพระรูปแต่ละองค์จะมีจารึกอธิบายชิ้นงานและแนวคิด คติเตือนใจ เป็นภาษาอีสาน และภาษาไทย รุปปั้นที่สูงที่สุดมีความสูงราว 25 เมตร นอกจากนี้ยังมีอาคารสำนักพุทธศาสนาแก้วกู่ความสูงสามชั้น สถาปัตยกรรมเลียนแบบมัสยิด บนหน้าบันของอาคารจารึกสัญลักษณ์โอม และอักษรไทย ศาลาแก้วกู่ โดยชั้นบนสุดเป็นที่ตั้งร่างของปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ที่บรรจุในผอบ (อ่านว่า ผะ อบ) และไม่เน่าเปื่อยทำให้สร้างความอัศจรรย์แก่ผู้ที่ศรัทธาในตัวท่านเป็นอย่างมากปู่บุญเหลือได้สร้างอุทยานนี้ถัดจากสวนพระ หรือ วัดเชียงควน (Buddha Park; Wat Xieng Khuan) ที่ตั้งอยู่ในนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว แต่ท่านได้สร้างให้อุทยานแก้วกู่นี้มีงานที่มีความวิจิตรและยิ่งใหญ่กว่าที่เคยสร้างที่ประเทศลาว สวนแห่งนี้มีลักษณะทีทคล้ายคลึงกับสวนแห่งโบมาร์โซ (Gardens of Bomarzo) ที่แคว้นลัตซีโย ประเทศอิตาลี

ศาลาแก้วกู่

เว็บไซต์ Sala Kaeoku Blog
ประเทศ ประเทศไทย
จังหวัด จังหวัดหนองคาย
หน่วยงานกำกับดูแล พุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย[1]
เจ้าของ ศูนย์วิปัสสนาแก้วกู่
ความสูง 25 เมตร (รูปปั้นที่สูงที่สุด)
ปีที่เริ่ม พ.ศ. 2521
ขนาดพื้นที่ 42 ไร่
ที่ตั้ง ชุมชนบ้านสามัคคี อำเภอเมือง
ศาสนา พุทธ คริสต์ ฮินดู ความเชื่อพื้นบ้าน

ใกล้เคียง

ศาลาแก้วกู่ ศาลาแดง ศาลาแดง (แก้ความกำกวม) ศาลแขวง (ประเทศไทย) ศาลาเฉลิมกรุง ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ศาลาเฉลิมไทย ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ ศาลาการเปรียญ ศาลาพระเกี้ยว