ปรัชญาการลงทุน ของ ศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์

เมื่อครั้งที่ยังศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียอยู่นั้นวอร์เรน บัฟเฟต์ได้ศึกษาถึงปรัชญาการลงทุนจาก เบนจามิน เกรแฮม หลังจากนั้นก็นำปรัชญาการลงทุนจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ มาปรับประยุกต์เข้าด้วยกัน วอร์เรน บัฟเฟต์ ถือเป็นนักลงทุนที่เน้นคุณค่าของหุ้นที่มั่นคงในระยะยาวมากกว่าการเก็งกำไรในระยะสั้น

กองทุนดัชนีและการบริหารแบบแอคทีฟ

บัฟเฟตต์สนับสนุนกองทุนดัชนีสำหรับผู้ที่ไม่สนใจบริหารเงินของตนเองหรือไม่มีเวลามากพอ บัฟเฟตต์กังขาว่าการบริหารแบบแอคทีฟจะสามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาวและเขาได้แนะนำทั้งผู้ลงทุนรายย่อยและสถาบันให้ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าธรรมเนียมต่ำและผูกโยงกับดัชนีที่กระจายความเสี่ยง บัฟเฟตต์เคยเขียนในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นว่า "เมื่อเงินหลักล้านๆ ดอลลาร์ถูกบริหารโดยคนวอลล์สตรีทที่คิดค่าธรรมเนียมแพงๆ กำไรใหญ่ๆก็มักจะถูกเหล่าผู้จัดการเก็บเกี่ยว ไม่ใช่ลูกค้า" [8] ในปี ค.ศ. 2007 บัฟเฟตต์พนันกับผู้จัดการกองทุนหลายคนว่ากองทุนดัชนี S&P 500 ธรรมดาจะทำความสามารถได้ดีกว่า เฮดจ์ฟันด์ที่คิดค่าธรรมเนียมแพงมาก เวลาล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ. 2017 กองทุนดัชนีสามารถที่จะเอาชนะทุกกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่พนันกับบัฟเฟตต์ [8]

ใกล้เคียง

ศาสตราจารย์ ศาสตรา ศรีปาน ศาสตราจารย์เอ็กซ์ ศาสตราคู่กู้แผ่นดิน ศาสตรนิพนธ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศาสตราจารย์ฟอเตสคิว ศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง