ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน ของ ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ดูบทความหลักที่: ศิลปะเกาะ

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน (ที่มักจะเรียกกันว่า “ศิลปะเกาะ” โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหนังสือวิจิตร) เป็นลักษณะของงานศิลปะที่พบเฉพาะในบริเตนใหญ่และไอร์แลนด โดยการผสานระหว่างธรรมเนียมนิยมของเจอร์มานิค (ผ่านทางแองโกล-แซ็กซอน) กับธรรมเนียมนิยมของเคลติก (ผ่านทางนักบวชชาวไอร์แลนด์) งานลักษณะนี้เห็นกันเป็นครั้งแรกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 และดำเนินต่อมาในบริเตนอีกเป็นเวลาราว 150 จนกระทั่งเมื่อมาถูกรุกรานโดยไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 (หลังจากนั้นก็เป็นการเริ่มต้นของศิลปะแองโกล-แซ็กซอน) แต่ในไอร์แลนด์งานลักษณะนี้ดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หลังจากนั้นก็เป็นศิลปะโรมาเนสก์)

ประวัติ

เข็มกลัดตรึงเจอร์มานิค, ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 4

ไอร์แลนด์เปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาโดยคณะนักเผยแพร่ศาสนาจากบริเตนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปที่เริ่มต้นขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ขณะเดียวกันกับที่เพกันชาวแองเกิลส์, แซ็กซอน และ จูตเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ ความแตกแยกอย่างรุนแรงทางการเมืองในไอร์แลนด์และความขาดการพัฒนาเมืองเป็นการจำกัดโครงสร้างทางการปกครองโดยสถาบันศาสนา สำนักสงฆ์จึงวิวัฒนาการขึ้นมาเป็นอำนาจอันสำคัญของสังคมของไอร์แลนด์ซึ่งทำให้เกิดลักษณะงานศิลปะที่เรียกว่างานศิลปะคริสต์ศาสนาของไอร์แลนด์

นอกจากนั้นแล้วคริสต์ศาสนาของไอร์แลนด์ก็ยังเน้นกิจการต่างที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่คริสต์ศาสนา ราว ค.ศ. 563 นักบุญโคลัมบาก่อตั้งฐานบนเกาะไอโอนาของสกอตแลนด์ จากที่นั่นโคลัมบาก็ทำการเปลี่ยนชาวพิคท์ที่เป็นเพกันให้มานับถือคริสต์ศาสนา การก่อตั้งสำนักสงฆ์กลายมาเป็นศูนย์กลางสำคัญของวัฒนธรรมคริสเตียนทางตอนเหนือของบริเตนต่อมาอีกเป็นเวลานาน ต่อมากลุ่มนักบวชโคลัมบาก็ย้ายไปยังนอร์ทธัมเบรีย ในปี ค.ศ. 635 ไปก่อตั้งสำนักสงฆ์บนเกาะลินดิสฟาร์น ที่ใช้เป็นฐานในการทำการเปลี่ยนศาสนาในประชาคมทางตอนเหนือของอังกฤษ แต่โรมก็ได้เริ่มทำการเปลี่ยนศาสนาของชาวแองโกล-แซ็กซอนจากทางตอนใต้โดยมีฐานอยู่ที่เค้นท์ในปี ค.ศ. 597 ความขัดแย้งระหว่างนักบวชไอร์แลนด์และนักบวชจากโรมเกี่ยวกับวันที่จะสมโภชน์อีสเตอร์นำไปสู่การถอนตัวของขบวนการเผยแพร่ศาสนาไอร์แลนด์จากเกาะลินดิสฟาร์นกลับไปยังเกาะไอโอนา แต่ความนิยมในการใช้การตกแต่งแบบไอร์แลนด์ในศิลปะที่สร้างขึ้นในอังกฤษเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทั้งสอง อังกฤษมาได้รับอิทธิพลจากเมดิเตอเรเนียนเพิ่มขึ้น แต่หลังจากที่ศิลปะเคลติกไอร์แลนด์ และศิลปะแองโกล-แซ็กซอนได้ผสานเข้ามาเป็นอย่างมากแล้ว

งานชิ้นสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็นศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนที่แท้จริงคือ “พระวรสารเดอร์โรว์” ของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 หลังจากนั้นก็เป็นยุคทองของงานโลหร และ งานแกะสลักหิน ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนก็เกือบถึงจุดสิ้นสุดเมื่อมาถูกรุกรานโดยการปล้นฆ่าของไวกิง และอิทธิพลของรูปลักษณ์จากเมดิเตอเรเนียนที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ

หนังสือวิจิตร

พระวรสารเดอร์โรว์” งานหนังสือวิจิตรไอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นงานชิ้นแรกที่ชิ้นหนึ่งของศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน (หอสมุดทรินิตี, ดับลิน)

ศิลปะไอริชเคลติกตั้งแต่ยุคเหล็กเป็นต้นมาจะเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลจากงานโลหะของวัฒนธรรมลาเทเนอชามแขวนเคลติกเช่นที่พบที่ซัททันฮูเป็นงานลักษณะหนึ่งที่สำคัญที่สุดของศิลปะหัตถกรรมประเภทนี้ เมื่อนักสอนศาสนาไอร์แลนด์เริ่มเข้ามาเผยแพร่พระวจนะ ก็จะเป็นที่จะต้องมีหนังสือ และแทบจะตั้งแต่เริ่มต้นนักบวชก็เริ่มตกแต่งประกอบเนื้อหาที่เป็นตัวเขียนด้วยงานศิลปะที่เลียนแบบมาจากลวดลายของงานโลหะ การตกแต่งอักษรตัวแรกให้ผสานกับลายโค้งงอพันไปมารอบตัวอักษร—ที่พบเช่นในงานเขียนหนังสือวิจิตร “หนังสือสวดมนต์โคลัมบา” ของคริสต์ศตวรรษที่ 7—เป็นงานที่นำลวดลายเครื่องเคลือบเคลติกและงานโลหะลาเทเนอมาใช้โดยตรง

หลังจาก “หนังสือสวดมนต์โคลัมบา” การตกแต่งหนังสือก็เริ่มที่จะซับซ้อนขึ้นและมีการนำลักษณะรูปแบบใหม่จากวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามาผสาน หน้าลายพรมs—หน้าหนังสือที่ตกแต่งด้วยลวดลายทั้งหน้าโดยไม่มีบทเขียนใดใด—ก็เริ่มนำมาใช้ โดยเฉพาะเป็นหน้าคั่นระหว่างพระวรสาร ลวดลายเรขาคณิตและลายสอดประสานที่ทำกันอาจจะมีอิทธิพลมาจากค็อพท์อียิปต์ หรือแหล่งอื่นในตะวันออกกลาง ส่วนความนิยมในการใช้รูปสัตว์ในการตกแต่งที่เพิ่มมากขึ้นก็อาจจะมาจากอิทธิพลของลายรูปสัตว์ของแองโกล-แซ็กซอน อิทธิพลต่างๆ เหล่านี้รวมเข้ากันเป็นลักษณะงานศิลปะที่อาจจะเรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนใหม่ เช่นในงานหนังสือวิจิตร “พระวรสารเดอร์โรว์” ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นงานแรกที่ใช้ลักษณะดังกล่าว “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ก็เป็นตัวอย่างสำคัญอีกตัวอย่างหนึ่ง

พระวรสารเคลล์ส” อาจจะเขียนขึ้นที่ไอโอนาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อนักบวชหนีการรุกรานของไวกิงไปยังไอร์แลนด์หลในปี ค.ศ. 807 ก็อาจจะนำพระวรสารเล่มนี้ติดตัวไปยังเคลล์สในไอร์แลนด์ด้วย “พระวรสารเคลล์ส” เป็นหนังสือที่ตกแต่งอย่างงดงามแพรวพราวด้วยตามแบบฉบับของหนังสือวิจิตรแบบศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน และเป็นหนังสือที่ประกอบด้วยกรรมวิธีและลวดลายต่างๆ ที่ใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 8

งานโลหะ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 งานโลหะที่ใช้กรรมวิธีใหม่เช่นการใช้ลายทองถักที่ทำให้สามารถสร้างงานที่มีความละเอียดขึ้นก็เริ่มเป็นที่นิยมทำกัน ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดของศิลปะเกาะก็ได้แก่เข็มกลัดทารา และ ถ้วยอาร์ดาห์ ขณะที่เครื่องประดับอัญมณีของคริสต์ศตวรรษที่ 7 เรือศพที่พบที่ในสุสานซัททันฮูแสดงให้เห็นถึงงานศิลปะแองโกล-แซ็กซอนที่สร้างขึ้นก่อนสมัยคริสเตียน งานหลากหลายที่พบที่ซัททันฮูเป็นงานที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญต่างๆ ของช่างทองในงานแต่ละชิ้น ที่รวมทั้งการประดับตกแต่งโดยวัสดุหลายอย่าง, การแกะสลัก, การตกแต่งด้วยทองถัก, คลัวซอนเน และ หินควอตซ์

ประติมากรรมหิน

ดูบทความหลักที่: มหากางเขน

ฝีมือในการสร้างงานโลหะเห็นได้ในงานประติมากรรมแกะสลักหิน ประเพณีไอร์แลนด์ที่รุ่งเรืองอยู่หลายร้อยปีนิยมที่จะติดตั้งกางเขนที่ทำด้วยไม้ภายในคริสต์ศาสนสถาน กางเขนแปลงไปเป็นกางเขนที่สลักด้วยหินที่เรียกว่ามหากางเขนที่ตกแต่งด้วยลวดลายกระหวัดอันละเอียดซับซ้อนที่ใช้โดยช่างทอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน http://www.britannica.com/ebc/article-9367062 http://www.hp.uab.edu/image_archive/noframes.html http://www.hp.uab.edu/image_archive/ujg/crown01.jp... http://www.hp.uab.edu/image_archive/ujg/fibula12.j... http://www.hp.uab.edu/image_archive/ujg/metalwork0... http://www.hp.uab.edu/image_archive/ujg/metalwork0... http://www.hp.uab.edu/image_archive/ujg/metalwork1... http://www.thewalters.org/works_of_art/itemdetails...