ประติมากรรม ของ ศิลปะอู่ทอง

งานประติมากรรมที่หล่อด้วยสำริดมีความประณีตและบาง เป็นศิลปะสืบต่อจากทวารวดี ต่อมาผสมกับศิลปะสุโขทัย ลักษณะองค์พระพุทธรูปมีความบางเบาขึ้น พุทธลักษณะเด่นชัดคือ วงพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม มีไรพระศกเป็นกรอบ[3] ดูเขร่งขรึม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยและเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาว จรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาหรืออุษณีษะทำเป็นทรงแบบฝาชีอย่างศิลปะลพบุรี ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 1 ต่อมาทำอุษณีษะและขมวดพระเกศาหรือขึ้นไปเป็นพระรัศมีแบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย เรียกว่าเป็นแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 ส่วนภาพสลักศิลาและภาพปูนปั้นต่าง ๆ ลักษณะลายเป็นแบบประดิษฐ์มากกว่าสมัยลพบุรี