ศิลปะเมารยะ
ศิลปะเมารยะ

ศิลปะเมารยะ

แม่แบบ:Indian artศิลปะเมารยะเป็นคำใช้เรียกงานศิลปะที่ผลิตขึ้นในยุคของจักรวรรดิเมารยะ อาณาจักรแรกที่สามารถปกครองอนุทวีปอินเดียตอนเหนือตั้งแต่ปี 322 ถึง 185 ปีก่อนคริสต์กาล ศิลปะเมารยะที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันเป็นผลงานภายใต้พระราชูปถัมภ์ของกษัตริย์เมารยะ โดยเฉพาะพระเจ้าอโศกมหาราช หลักฐานชิ้นสำคัญที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีทั้งเสา, สถูป และถ้ำเจาะหินศิลปะเมารยะขนาดใหญ่ที่หลงเหลือมาจนปัจจุบันเช่นซากของพระราชวังหลวงที่ปาฏลีบุตร, ราวมอนอลิธที่สารนาถ, โพธิมณฑล หรือแท่นทั้งสี่ที่โพธคยา, โถงเจดีย์ที่สลักเข้าไปในหินของถ้ำบาราบาร์ใกล้กับอำเภอคยา, งานแกะสลักแสดงสัตว์และพืชบนหินที่ธาวลี เป็นต้น[1]อานันทะ โคมารัสวามีได้บันทึกไว้เมื่อปี 1923 ว่าศิลปะเมารยะมีอยู่สามระยะหลัก[2] ระยะแรกสุดจะพบร่อยรอยของเทพเจ้าจากความเชื่อแบบพระเวท (เช่นภาพแกะสลักนูนต่ำแสดง พระสูรยะ และ พระอินทร์ ในถ้ำภชา)[2] อย่างไรก็ตาม ถ้ำภชาในปัจจุบันถือกันว่าสร้างขึ้นภายหลังสมัยเมารยะ ราว 200-100 ปีก่อนคริสต์กาล[3] ยุคที่สองเป็นราชศิลปะในพระเจ้าอโศกมหาราช พบในงานแกะสลักเสาจากหินก้อนเดียวที่มีจารึกพระราชโองการบนนั้น และยุคที่สามเป็นยุคเริ่มแรกของสถาปัตยกรรมอิฐและหิน เช่นในสถูปองค์เดิมที่สาญจี และถ้ำโลมัสฤษี ใสหมู่ถ้ำบาราบาร์[2]นักวิชาการส่วนมากเห็นตรงกันว่าศิลปะเมารยะได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกและศิลปะเปอร์เซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พบในสถาปัตยกรรมและประติมากรรมของหลวง[4]