สกุลมีสทัส
สกุลมีสทัส

สกุลมีสทัส


สกุลมีสทัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ในอันดับปลาหนัง (Siluformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Mystus (/มีส-ทัส/)เดิมทีสกุลนี้มิได้มีการกำหนดชนิดต้นแบบไว้ ต่อมาภายหลัง ได้มีการการกำหนดให้ Bagrus halapenesis เป็นต้นแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีนักมีนวิทยาหลายท่านได้ให้การรับรองและนำมาตั้งเป็นชื่อปลาที่ตนเองค้นพบ เช่น เค.ซี. จารายาม ในปี ค.ศ. 1977, ค.ศ. 1978 และค.ศ. 1981, มัวรีซ คอทเทเลท ในปี ค.ศ. 1985, ดับเบิลยู.อี. เบอร์เกส ในปี ค.ศ. 1989 และไทสัน โรเบิร์ตส์ ในปี ค.ศ. 1989 และค.ศ. 1992 เป็นต้นมีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวยาว ผิวหนังเรียบ หัวแบน นัยน์ตาเล็ก ปากกว้าง รูปปากตัดตรง ขากรรไกรบนยาวกว่าขากรรไกรล่างเล็กน้อย ปากมีริมฝีปากโดยรอบ ฟันที่ขากรรไกรเป็นซี่เล็กละเอียด ฟันที่กระดูกเพดานเรียงเป็นแผ่นโค้งเล็กน้อย ช่องเหงือกกว้าง โดยเฉพาะด้านล่าง หนังริมกระดูกแก้มทั้งสองข้างแยกจากกันเป็นอิสระไม่ติดกับเอ็นคาง กระดูกกะโหลกบางชนิดไม่เรียบและมีร่องที่กึ่งกลางกะโหลก กระดูกท้ายทอยส่วนหลังยื่นยาวเป็นกิ่ง บางส่วนเปลือย และบางส่วนซ่อนอยู่ใต้ผิวหนัง มีหนวด 4 คู่ คือ หนวดขนาดเล็กและที่สั้นจมูก 1 คู่ หนวดที่ริมปากบนยาวเลยหัว 1 คู่ และมีหนวดที่คางสั้นกว่าความยาวหัว 1 คู่ ครีบหลังมีด้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย 1 ก้าน และครีบแขนง 6 ก้าน มีครีบไขมัน 1 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยวเป็นเงี่ยงแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ปลายครีบยาวไม่ถึงฐานของครีบท้อง ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึกแยกเป็น 2 แฉก แต่ขนาดไม่เท่ากัน โดยปลายแฉกบนในบางชนิดแยกออกมาเป็นครีบเดี่ยวที่เรียวยาวเหมือนหางเปียในอดีต ปลากดในสกุลมิสทัสนี้เคยรวมอยู่เป็นสกุลเดียวกันกับ Bagrus, Hemibagrus และSperata แต่ต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีความแตกต่างกันพอสมควร จึงมีการจับแยกกันในปัจจุบัน ซึ่งปลาในสกุลมีสทัสนี้ถือว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ในภาษาไทยอาจเรียกชื่อสามัญได้ว่า "ปลาแขยง"[8]พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์โดยในปี ค.ศ. 1989 ดับเบิลยู.อี. เบอร์เกส ได้รายงานว่าทั่วโลกมีปลาในสกุลนี้มากกว่า 37 ชนิด ในประเทศไทย เดิมทีนั้น ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ได้รายงานในหนังสือ Fishes of Thailand ว่ามี 9 ชนิด ที่ออกเผยแพร่เมื่อปี ค.ศ. 1945 ต่อมา โชติ สุวัตถิ รายงานว่ามี 11 ชนิด ในปี ค.ศ. 1981 ต่อมา สุภาพ มงคลประสิทธิ์ และคณะรายงานว่ามี 13 ชนิด เมื่อปี ค.ศ. 1987[9]