สกุลศิลปะบาร์บิซง
สกุลศิลปะบาร์บิซง

สกุลศิลปะบาร์บิซง

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสกุลศิลปะบาร์บิซง[1] (อังกฤษ: Barbizon school) คือปรัชญาศิลปะของกลุ่มศิลปินที่ตั้งตามชื่อหมู่บ้านบาร์บิซงที่รุ่งเรืองระหว่างราว ค.ศ. 1830 ถึง ค.ศ. 1870 หมู่บ้านบาร์บิซงเป็นหมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งหลักแหล่งของศิลปินกลุ่มนี้ที่อยู่ไม่ไกลจากป่าฟงแตนโบลจิตรกรบาร์บิซงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเชิงทัศนศิลป์เชิงสัจนิยมที่แตกแขนงมาจากขบวนการศิลปะจินตนิยมในขณะนั้นในนิทรรศการศิลปะแห่งปารีสของปี ค.ศ. 1824 ที่แสดงงานจิตรกรรมของจอห์น คอนสตาเบิล ฉากชนบทที่คอนสตาเบิลเขียนมีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลังของสมัยนั้น ในการหันเหจากการเขียนงานที่มีลักษณะที่เป็นทางการหันไปหาแรงบันดาลใจโดยตรงจากธรรมชาติ ฉากธรรมชาติกลายมาเป็นหัวข้อหลักของงานเขียนของศิลปินกลุ่มนี้แทนที่จะเป็นแต่เพียงฉากหลังของเหตุการณ์สำคัญ ระหว่างการปฏิวัติ ค.ศ. 1848 ศิลปินรวมกลุ่มกันที่บาร์บิซงเพื่อปฏิบัติตามแนวคิดของจอห์น คอนสตาเบิล โดยการเลือกธรรมชาติเป็นหัวข้อของการเขียนภาพศิลปินคนหนึ่งในกลุ่มนี้ฌอง-ฟรองซัวส์ มิลเลต์ขยายหัวข้อจากภูมิทัศน์ไปรวมบุคคล— ชาวนา, ฉากชีวิตชาวนา และ ฉากในท้องทุ่งเก็บเกี่ยว ในภาพ “คนเก็บรวงข้าว” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1857 มิลเลต์เขียนภาพสตรีชาวนาสามคนในทุ่งที่เกี่ยวข้าวไปแล้ว ซึ่งเป็นภาพที่ไม่มีเนื้อเรื่อง ไม่มีนาฏกรรม เป็นแต่เพียงภาพชาวนาธรรมดาในท้องทุ่ง การเก็บรวงข้าง (gleaning) เป็นวิธีหากินของคนยากจนที่ไปเก็บรวงข้าวที่ยังตกหล่นหลังจากเจ้าของที่นาเก็บเกี่ยวของดีๆ ไปแล้ว ในฉากหลังจะยังคงเห็นเจ้าของที่นาและกรรมกร มิลเลต์หันเหจุดสนใจหรือหัวเรื่องจากผู้มีฐานะดีไปยังผู้คนที่มีฐานะต่ำต้อยในสังคม และไม่ได้เขียนใบหน้าเพื่อเน้น “ความไม่มีตัวตน” (anonymity) และ “ความเป็นคนนอกวง” (marginalized position) ของชาวนา ร่างที่คุ้มลงแสดงถึงการเป็นผู้ที่ต้องเผชิญกับงานหนักเป็นประจำผู้นำของสกุลศิลปะบาร์บิซงก็ได้แก่ฌอง-บัพทิสต์ คามิลล์ โคโรต์, ทีโอดอร์ รุสโซ, ฌอง-ฟรองซัวส์ มิลเลต์ และ ชาร์ลส์-ฟรองซัวส์ โดบิญญี ส่วนสมาชิกผู้อื่นในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ฌูลส์ ดูเพร, คงสตองท์ โทรยง, ชาร์ลส์ ฌาคส์, นาร์ซิส วีร์ฌิลลิโอ ดิอัซ, ชาร์ลส์ โอลิเวียร์ เดอ เพนน์, อองรี อาร์พินยีส์, อัลแบร์ต ชาร์แปง, เฟลีกซ์ แซง, อันตวน โมฟ, ฟรองซัวส์-หลุยส์ ฟรองเซส์ และ อเล็กซองเดรอ เดอโฟซ์