ประวัติการสร้าง ของ สตาร์_เทรค

เส้นเวลา

ยุค ดิออริจินอลซีรีส์ (1965–1969)

ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ผู้สร้าง, อำนวยการสร้างและเขียนบท สตาร์ เทรคนาวาโทสป็อคและกัปตันเจมส์ ที. เคิร์ก แสดงโดย เลนนาร์ด นิมอยและวิลเลียม แชตเนอร์

เมื่อต้นปี ค.ศ. 1964 ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ได้เสนอโครงเรื่องย่อสำหรับละครโทรทัศน์ให้กับ เดซิลูโปรดักชันส์ เรียกว่าเป็น "แวกอนเทรน ไปยังดวงดาว"[17] เดซิลูทำงานร่วมกับร็อดเดนเบอร์รีในการพัฒนาโครงเรื่องจนกลายเป็นบทละครโทรทัศน์ ซึ่งต่อมาได้ไปเสนอต่อเอ็นบีซี[18]

เอ็นบีซี ออกทุนสร้างทำตอนนำร่อง มีชื่อตอนว่า "กรง (The Cage)" นำแสดงโดย เจฟฟรีย์ ฮันเตอร์ เป็น กัปตัน คริสโตเฟอร์ ไพค์ ของยานเอนเทอร์ไพรซ์ เอ็นบีซีปฏิเสธตอนนำร่องนี้ แต่ว่าผู้บริหารยังคงประทับใจในแนวคิดนี้ และทำการตัดสินใจที่แปลกโดยการสั่งให้สร้างตอนนำร่องตอนที่สอง มีชื่อตอนว่า "ที่ที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยไปเยือนมาก่อน (Where No Man Has Gone Before)"[18]

ขณะที่เรตติงรายการในช่วงแรกนั้นสูง เรตติงเฉลี่ยหลังจบปีที่หนึ่งนั้นร่วงลงไปที่ 52 จาก 94 รายการ เอ็นบีซีขู่ว่าจะยกเลิกรายการระหว่างการออกอากาศปีที่สองเพราะไม่พอใจที่เรตติงรายการต่ำ[19] ฐานแฟนคลับของรายการ นำโดย โย ทริมเบิล ทำการรณรงค์การเขียนจดหมายร้องเรียนเป็นประวัติการณ์ให้เครือข่ายนั้นรักษารายการไว้[19][20] เอ็นบีซีต่ออายุรายการแต่ว่าย้ายเวลาออกอากาศจากช่วงไพร์มไทม์ไป "ช่วงมรณะในคืนวันศุกร์" (20:00 น. ถึง 23:00 น.) เพื่อเป็นการลดต้นทุนของรายการ[21] ร็อดเดนเบอร์รี ประท้วงด้วยการลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการสร้างและลดการมีส่วนร่วมโดยตรงของเขาใน สตาร์ เทรค ทำให้ เฟรด ไฟร์เบอร์เกอร์ ทำหน้าที่แทนในปีที่สามซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรายการ[lower-alpha 3] แม้จะมีการรณรงค์เขียนจดหมายมาอีก เอ็นบีซีก็ยกเลิกรายการหลังออกอากาศได้สามปี จำนวนตอนทั้งหมด 79 ตอน[18]

การเกิดใหม่หลัง ดิออริจินอลซีรีส์ (1969–1991)

หลังดิออริจินอลซีรีส์ถูกยกเลิก เดซิลูซึ่งตอนนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อพาราเมาต์เทเลวิชันแล้ว ได้รับใบอนุญาตในการออกอากาศหลายช่อง เพื่อช่วยชดเชยค่าถ่ายทำที่เสียไป การออกอากาศซ้ำเริ่มช่วงปลายปี ค.ศ. 1969 และในช่วงปลายทศวรรษ 1970 รายการได้ออกอากาศในประเทศมากกว่า 150 ช่องและในตลาดต่างประเทศอีก 60 ช่อง ช่วยทำให้ สตาร์ เทรค เกิดการสร้างลักธิตามมามากกว่าความนิยมในช่วงออกอากาศครั้งแรก[22]

สัญญาณหนึ่งของความนิยมที่เพิ่มขึ้นของรายการนั้นคือ งานประชุม สตาร์ เทรค ครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21–23 มกราคม ค.ศ. 1972 ที่เมืองนิวยอร์ก แม้ว่าในตอนแรกนั้นคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น สุดท้ายมีแฟนหลายพันคนมาเข้าร่วมงานด้วย แฟน สตาร์ เทรค ยังคงเข้าร่วมงานลักษณะนี้ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง[23]

การประสบความสำเร็จใหม่อีกครั้งของรายการนำไปสู่แนวคิดในการฟื้นฟูแฟรนไชส์[24] ฟิลเมชันร่วมกับพาราเมาต์เทเลวิชัน สร้าง สตาร์ เทรค: ดิแอะนิเมเต็ดซีรีส์ รายการแรกหลังดิออริจินอลซีรีส์ โดยออกอากาศทางเอ็นบีซีช่วงเช้าวันเสาร์ จำนวน 22 ตอน ตอนละครึ่งชั่วโมงมากกว่าสองปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึง 1974[25]:208 แม้ว่าจะมีอายุสั้น เพราะเป็นเรื่องปกติของการสร้างแอนิเมชันในช่วงเวลานั้น รายการได้รับรางวัลเอมมีหนึ่งรางวัลคือ "รายการยอดเยี่ยม" พาราเมาต์พิกเจอส์และร็อดเดนเบอร์รี เริ่มต้นพัฒนาละครโทรทัศน์ใหม่ มีชื่อว่า สตาร์ เทรค: เฟส II (Star Trek: Phase II) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1975 เพื่อตอบสนองต่อความนิยมใหม่ของแฟรนไชส์ การทำงานกับละครโทรทัศน์ต้องสิ้นสุดลงเมื่อช่อง พาราเมาต์เทเลวิชันเซอร์วิส ถูกยกเลิกไปก่อน

หลังความสำเร็จของภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ สตาร์ วอร์ส (Star Wars)[lower-alpha 4] และ มนุษย์ต่างโลก (Close Encounters of the Third Kind), พาราเมาต์ได้ปรับตอนนำร่องที่เคยวางแผนไว้ใน เฟส II นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง (Star Trek: The Motion Picture) ภาพยนตร์ฉายที่อเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 โดยมีความคิดเห็นที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ ภาพยนตร์ทำเงิน 139 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ซึ่งต่ำกว่าที่คาดหวังไว้แต่ก็เพียงพอที่พาราเมาต์จะสร้างภาคต่อ สตูดิโอบังคับให้ร็อดเดนเบอร์รีสละการควบคุมทางความคิดสร้างสรรค์ของภาคต่อในอนาคต

ความสำเร็จของภาคต่อ สตาร์ เทรค 2 ศึกสลัดอวกาศ (Star Trek II: The Wrath of Khan) ทำให้แฟรนไชส์กลับมาทำเงินอีกครั้ง เป็นภาพยนตร์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดเพราะมีทุนในการสร้างต่ำ พาราเมาต์สร้างภาพยนตร์ สตาร์ เทรค หกเรื่องระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึง 1991 แต่ทำเงินน้อยกว่าภาพยนตร์ภาคแรก

ด้วยความนิยมของภาพยนตร์ สตาร์ เทรค ทำให้แฟรนไชส์ได้กลับมาออกอากาศทางโทรทัศน์อีกครั้ง โดยมี สตาร์ เทรค: เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ออกอากาศในปี ค.ศ. 1987 พาราเมาต์เลือกที่จะออกอากาศหลายช่องแทนที่จะออกอากาศเพียงช่องเดียว[9]:545

ยุคละครโทรทัศน์หลังร็อดเดนเบอร์รี (1991–2005)

หลัง สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง, บทบาทของร็อดเดนเบอร์รีก็เปลี่ยนจากผู้อำนวยการสร้างเป็นที่ปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์โดยมีส่วนร่วมน้อยที่สุดต่อภาพยนตร์ ในขณะที่มีส่วนร่วมอย่างมากกับการสร้าง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ร็อดเดนเบอร์รีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1991 ทำให้ผู้อำนวยการสร้าง ริก เบอร์แมน เข้ามาควบคุมแฟรนไชส์[12]:268[9]:591–593 สตาร์ เทรค ได้กลายเป็นที่รู้จักกันภายในพาราเมาต์ว่าเป็น "เดอะแฟรนไชส์", เพราะความสำเร็จที่ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้เป็นเสาเต็นท์[lower-alpha 5]ของสตูดิโออยู่บ่อยครั้งเมื่อโครงการอื่นล้มเหลว[26] เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน เป็นละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ที่มีเรตติงสูงที่สุดและกลายเป็นรายการที่มีการออกอากาศมากที่สุดในช่วงปีสุดท้ายของการออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี[27] ความสำเร็จของ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ทำให้พาราเมาต์ปล่อยละครโทรทัศน์แยกออกมา ชื่อว่า ดีพสเปซไนน์ ในปี ค.ศ. 1993 ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน แต่ก็มีเรตติงเพียงพอสำหรับการออกอากาศทั้งหมดเจ็ดปี

เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1995 ไม่กี่เดือนหลัง เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน จบลง พาราเมาต์ได้ปล่อยละครโทรทัศน์ลำดับที่สี่ ชื่อว่า วอยเอเจอร์ ความนิยมของ สตาร์ เทรค ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ด้วย ดีพสเปซไนน์ และ วอยเอเจอร์ ออกอากาศควบคู่กันไปและการฉายภาพยนตร์สามจากสี่เรื่องที่มีนักแสดงจาก เดอะเน็กซ์เจเนอเรชัน ในปี ค.ศ. 1994, 1996 และ 1998 โดยในปี ค.ศ. 1998 สตาร์ เทรค เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของพาราเมาต์ กำไรที่มหาศาลจาก "เดอะแฟรนไชส์" ทำให้มีเงินมากพอที่จะสนับสนุนการทำงานของสตูดิโอทั้งหมด[28] วอยเอเจอร์ กลายเป็นรายการเรือธงใหม่ของช่อง ยูไนเต็ดพาราเมาต์เน็ตเวิร์ก (UPN) และทำให้เป็นเครือข่ายหลักแรกของละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค ตั้งแต่ฉบับดั้งเดิม[29]

หลัง วอยเอเจอร์ จบลง ยูพีเอ็นได้ผลิต เอนเทอร์ไพรซ์ ละครโทรทัศน์ที่ดำเนินเรื่องก่อน สตาร์ เทรค ฉบับดั้งเดิม เอนเทอร์ไพรซ์ ไม่ได้มีเรตติงสูงเท่ากับละครโทรทัศน์ก่อนหน้านี้และยูพีเอ็นขู่ว่าจะยกเลิกรายการหลังจบปีที่สาม เหล่าแฟน ๆ ทำแคมเปญช่วยรักษารายการไว้เหมือนกับตอนที่เคยช่วยปีที่สามของ ดิออริจินอลซีรีส์ พาราเมาต์ต่ออายุ เอนเทอร์ไพรซ์ สำหรับปีที่สี่ แต่ย้ายไปช่วงมรณะในคืนวันศุกร์[30] เหมือนกับ ดิออริจินอลซีรีส์ เรตติงของ เอนเทอร์ไพรซ์ ร่วงในช่วงเวลานั้นและยูพีเอ็นยกเลิกรายการหลังออกอากาศจบในปีที่สี่ เอนเทอร์ไพรซ์ ออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2005[31] กลุ่มแฟนคลับชื่อ "Save Enterprise" พยายามที่จะรักษารายการไว้โดยพยายามระดุมทุนจำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อออกทุนส่วนตัวให้กับปีที่ห้าของ เอนเทอร์ไพรซ์[32] แม้ว่าจะรวบรวมเงินได้มากพอ แต่พยายามก็ล้มเหลว เนื่องจากพาราเมาต์ไม่รับเงินดังกล่าว[33] การยกเลิกของ เอนเทอร์ไพรซ์ ทำให้การออกอากาศบนโทรทัศน์ต่อเนื่องยาวนานสิบแปดปีของ สตาร์ เทรค สิ้นสุดลง เนเมซิส ทำเงินได้ไม่ดีในปี ค.ศ. 2002 ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่ออนาคตของแฟรนไชส์ พาราเมาต์ได้ปลดเบอร์แมน ผู้อำนวยการสร้างของแฟรนไชส์ ออกจากการควบคุม สตาร์ เทรค

ภาพยนตร์รีบูต (เส้นเวลา แคลวิน) (2005–2016)

เมื่อปี ค.ศ. 2005 ไวอาคอม บริษัทแม่ของพาราเมาต์ ได้แบ่งออกเป็นสองบริษัท ได้แก่ ซีบีเอสคอร์เพอเรชัน เจ้าของซีบีเอสเทเลวิชันสตูดิโอ และ ไวอาคอม เจ้าของพาราเมาต์พิกเจอส์ ซีบีเอสเป็นเจ้าของแบรนด์ภาพยนตร์ในขณะที่พาราเมาต์เป็นเจ้าของคลังภาพยนตร์และจะดำเนินการสร้างภาพยนตร์ต่อแฟรนไชส์ พาราเมาต์เป็นบริษัทแรกที่พยายามที่จะฟื้นฟูแฟรนไชส์ โดยจ้างทีมงานสร้างสรรค์ใหม่เพื่อเสริมความมั่นคงของแฟรนไชส์เมื่อปี ค.ศ. 2007 นักเขียน โรเบอร์โต โอจี และ อเล็กซ์ เคิร์ตแมน และ ผู้อำนวยการสร้าง เจ.เจ. แอบรัมส์ มีอิสระที่จะสร้างความรู้สึกใหม่ ๆ ต่อแฟรนไชส์

ทีมงานได้สร้างภาพยนตร์ลำดับที่สิบเอ็ดของแฟรนไชส์ สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล ฉายเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์มีการนำเสนอนักแสดงใหม่ที่แสดงเป็นลูกเรือของละครโทรทัศน์เดิม สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล เป็นภาพยนตร์ที่ดำเนินเรื่องก่อนหน้าละครโทรทัศน์เดิมในเส้นเวลาที่แตกต่าง ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าเส้นเวลา แคลวิน ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้และภาคต่อเป็นอิสระจากความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับเส้นเวลาเดิมของแฟรนไชส์ ภาพยนตร์ สตาร์ เทรค ลำดับที่สิบเอ็ดนั้นมีแคมเปญการตลาดสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่แฟน แม้จะระบุในโฆษณาของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "นี่ไม่ใช่ สตาร์ เทรค ของพ่อคุณ"[34] นอกจากนี้ภาพยนตร์จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับแฟรนไชส์ของซีบีเอส

ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และทางการเงิน โดยทำเงินมากกว่าภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องใด ๆ ก่อนหน้านี้ (คิดเป็นดอลลาร์ที่ปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว)[35] ส่งผลให้ภาพยนตร์ได้รับ รางวัลออสการ์ เป็นครั้งแรกของแฟรนไชส์ (ในสาขาแต่งหน้ายอดเยี่ยม) นักแสดงหลักของภาพยนตร์ได้เซ็นสัญญาแสดงภาพยนตร์อีกสองภาค[36] ภาพยนตร์ภาคต่อ สตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2013 และฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[37] แม้ว่าภาพยนตร์ภาคต่อจะไม่ได้ทำเงินในอเมริกาเหนือมากเท่ากับภาคก่อนหน้านี้ แต่สามารถทำเงินในตลาดต่างประเทศได้อย่างมาก ทำให้ ทะยานสู่ห้วงมืด เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแฟรนไชส์[38] ภาพยนตร์ลำดับที่สิบสาม สตาร์ เทรค ข้ามขอบจักรวาล ฉายเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2016[39] ภาพยนตร์ประสบปัญหาหลายอย่างก่อนเริ่มถ่ายทำและบทภาพยนตร์ผ่านการเขียนใหม่อยู่หลายครั้ง ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะได้รับคำวิจารณ์ที่ดี แต่กลับทำเงินได้อย่างน่าผิดหวัง[40]

ยุคสตรีมมิงออริจินอล (2017–ปัจจุบัน)

ซีบีเอส ปฏิเสธข้อเสนอต่าง ๆ ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ในการเริ่มต้นแฟรนไชส์ใหม่ โดยมีข้อเสนอจากบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์ ไบรอัน ซิงเกอร์, เจ. ไมเคิล สเตรซินสกี ผู้สร้าง บาบีลอน 5 และ โจนาทาน เฟรกส์และวิลเลียม แชตเนอร์ นักแสดงจาก สตาร์ เทรค [41][42][43] บริษัทยังปฏิเสธที่จะสร้างแอนิเมชันในรูปแบบเว็บซีรีส์ด้วย[44]

แม้ว่าการขาดหายไปของการออกอากาศบนโทรทัศน์ของแฟรนไชส์ แต่คลังภาพยนตร์ สตาร์ เทรค กลับสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ชมทั่วไป เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบริการสตรีมมิ่ง เช่น เน็ตฟลิกซ์และแอมาซอนไพร์มวิดีโอ เพื่อใช้ประโยชน์จากแนวโน้มนี้, ซีบีเอสดึงแฟรนไชส์กลับมาบนจอเล็กอีกครั้งด้วยซีรีส์ สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี เพื่อช่วยในการเปิดตัวและดึงดูดคนให้มาเป็นสมาชิกบริการสตรีมมิ่งของตัวเองในชื่อ ซีบีเอสออลแอคเซส[45] ปีแรกของ ดิสคัฟเวอรี นั้นเปิดให้ชมเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2017 ปีที่สองเปิดให้ชมในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019[46] ปีที่สามประกาศเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019[47] ในขณะที่ ดิสคัฟเวอรี เปิดให้ชมในสหรัฐเฉพาะบนซีบีเอสออลแอคเซส เน็ตฟลิกซ์เป็นเจ้าของสิทธ์ในการเผยแพร่ทั่วโลก เพราะเป็นบริษัทที่ให้เงินทุนในการสร้างรายการทั้งหมด[48]

ซีรีส์ออลแอคเซสลำดับที่สอง สตาร์ เทรค: พิคาร์ด มีแพทริก สจวตกลับมารับบทเดิมเป็น ฌอง-ลุค พิคาร์ด เปิดให้ชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2020 ผ่านแอมาซอนไพร์มวิดีโอ ซึ่งเปิดให้ชมทั่วโลก ไม่เหมือนกับ ดิสคัฟเวอรี[49] ซีบีเอสยังได้ปล่อย สตาร์ เทรค: ชอร์ตเทรคส์ ซึ่งเป็นซีรีส์รวมตอนสั้น ๆ ซึ่งปล่อยระหว่าง ดิสคัฟเวอรี และ พิคาร์ด นอกจากนี้ยังมี สตาร์ เทรค: สเตรนจ์นิวเวิร์ลส์ ซีรีส์สตรีมมิงที่ติดตามเรื่องราวของลูกเรือยานเอนเทอร์ไพรซ์ โดยมีกัปตันไพค์จาก ดิสคัฟเวอรี ปีสอง เป็นกัปตัน ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2020[1][2]

นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ออลแอคเซสที่กำลังอยู่ในการพัฒนา ประกอบด้วย สตาร์ เทรค: โลเวอร์ เดคส์ ซีรีส์แอนิเมชันสำหรับผู้ใหญ่และซีรีส์เกี่ยวกับ ฟิลิปปา จอร์โจว์ ตัวละครจาก ดิสคัฟเวอรี เป้าหมายของซีบีเอสคือมีเนื้อหา สตาร์ เทรค ตลอดทั้งปีบนออลแอคเซส[50][51][52]

ใกล้เคียง

สตาร์ เทรค สตาร์ เทรค สงครามพิฆาตจักรวาล สตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด สตาร์ เทรค ข้ามขอบจักรวาล สตาร์ เทรค: บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง สตาร์ เทรค: ฝ่าสงครามยึดโลก สตาร์ เทรค: ดิสคัฟเวอรี่

แหล่งที่มา

WikiPedia: สตาร์_เทรค http://scifi.about.com/blinterarma2.htm http://airlockalpha.com/6469/star-trek-becomes-hig... http://www.andyfilm.com/11-14-06.html http://america.cgtn.com/2016/07/26/business-of-sta... http://www.comfixclub.com/star-trek-the-original-s... http://www.fandango.com/startrek:voyager%5Btvserie... http://www.imdb.com/title/tt0069637/awards http://www.mercurynews.com/mld/mercurynews/enterta... http://seattletimes.nwsource.com/html/entertainmen... http://topics.nytimes.com/topics/reference/timesto...