สถานีย่อย:ประเทศอินเดีย

อินเดีย (อังกฤษ: India) หรือ ภารตะ (ฮินดี: भारत, ถอดอักษรเทวนาครีเป็นไทย ภารต, ออกเสียง [ˈbʱaːɾət̪] บฮฺรัต) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (อังกฤษ: Republic of India, ฮินดี: भारत गणराज्य) คือประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลกประตูสู่อินเดีย (อังกฤษ: Gateway of India) เป็นอนุสาวรีย์ซุ้มประตูโค้งแบบประตูชัย ที่ตั้งอยู่ในนครมุมไบ ประเทศอินเดีย ประตูสู่อินเดียสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จฯ เยือนนครมุมไบของพระเจ้าจอร์จที่ 5 และ พระนางมาเรียแห่งเท็ค เมื่อปี 1911 ณ บริเวณอะพอลโลบันเดอร์สถาปัตยกรรมที่ใช้คือแบบอินเดีย-ซาราเซน (Indo-Saracenic) และอนุสาวรีย์สร้างด้วยหินบะซอลต์ ความสูง 26 เมตร (85 ฟุต) ใช้เวลาสร้างสำเร็จในปี 1924 ปัจจุบันใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับพิธีต้อนรับรัฐมนตรีใหม่ของนครมุมไบ และเช่นกัน เป็นทางเข้าประเทศอินเดียหากเดินทางมาทางมหาสมุทรอินเดีย
(อ่านต่อ...)
มหาราชา รันจิต สิงห์ เป็นผู้นำของจักรวรรดิซิกข์ ซึ่งปกครองอนุทวีปอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ ราวศตวรรศที่ 19 ท่านเกือบเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่ท่านสามารถรอดมาได้แต่ด้วยพิษฝีดาษทำให้ท่านเสียตาข้างซ้ายไป ท่านเข้าสู่สนามรบตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี รบเคียงข้างกับบิดาของท่าน มหา สิงห์ หลังมหา สิงห์ เสียชีวิตลง ท่านได้ยืนหยัดต่อสู้ต่อไปจนสามารถไล่ชาวอัฟกันออกจากบริเวณปัญจาบ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็น "มหาราชาแห่งปัญจาบ" ด้วยวัยเพียง 21 ปีสภาพสังคมของปัญจาบในขณะนั้นประกอบด้วยแว่นแคว้น (misl; สมาพันธรัฐ) มากมาย 12 misl เป็นของซิกข์ และ 1 misl เป็นของมุสลิม ท่านสามารถรวบรวมแว่นแคว้นทั้ง 13 เข้าด้วยกันและก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์อันยิ่งใหญ่ขึ้น และยังสามารถรบชนะผู้รุกรานจากอัฟกานิสถานหลายต่อหลายครั้งในสงครามซิกข์-อัฟกันหลายครั้ง หลังการเข้ามาของบริทิชอินเดีย ท่านตกลงผูกมิตรกับชาวบริเทนและกลายมาเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน
(อ่านต่อ...)

นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้:ฯลฯจารมินาร์ เป็นอนุสาวรีย์และมัสยิดในไฮเดอราบาด เตลังคนา ประเทศอินเดีย ถือเป็นสถานที่แลนด์มาร์กของเมืองที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเมืองไฮเดอราบาดและเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดียภาพโดย: Bgagการโจมตีนครมุมไบ 26/11 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เหตุการณ์ 26/11 เป็นระลอกการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โดยสมาชิก 10 รายของลัชการ์-อี-ไตบา กลุ่มก่อการร้ายอิงศาสนาอิสลามที่ตั้งในปากีสถาน ก่อการกราดยิงหมู่และวางระเบิด 12 ครั้งในระยะเวลา 4 วัน ทั่วนครมุมไบ ประเทศอินเดีย การก่อการร้ายเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 26 และจบลงในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 174 ราย รวมผู้ก่อการร้าย 9 ราย และบาดเจ็บสาหัสราว 300 รายการก่อการร้ายรวม 12 ครั้ง ในบริเวณทั่วนครมุมไบ ได้แก่ สถานีรถไฟฉัตรปตี ศิวาจี, โรงแรมโอเบอรอย ไทรเดนท์ ทางตอนใต้ของนครมุมไบ ที่ โรงแรมทัชมาฮาลแพเลซ, คาเฟ่ลีโอโพลด์, โรงพยาบาลกามา ที่ศูนย์ชาวยิวนรีมันพอยต์, โรงภาพยนตร์เมโทร อัดลาบส์, และบนถนนระหว่างอาคารไทมส์ออฟอินเดีย และ วิทยาลัยเซนต์เซเวียร์ มุมไบ นอกจากนี้ยังมีการระเบิดที่ท่าเรือมาซากาน และในแท็กซี่ที่วิลพาเล่ ตำรวจและกองกำลังหน่วยรบของอินเดียสามารถเข้าควบคุมพื้นที่ได้ทั้งหมดในวันที่ 28 ยกเว้นเพียงโรงแรมทัชมาฮาล ซึ่งกองกำลังพิเศษ (National Security Guards: NSG) ของอินเดียได้เริ่มปฏิบัติการทอร์นาโดดำ (Operation Black Tornado) ที่โรงแรมทัชมาฮาลแพเลซในเวลาต่อมา เพื่อกำจัดผู้ก่อการร้ายที่เหลือภายในโรงแรม
(อ่านต่อ...)

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีย่อย:ประเทศอินเดีย https://en.wikibooks.org/wiki/Special:Search/%E0%B... https://www.wikidata.org/wiki/Special:Search/%E0%B... https://commons.wikimedia.org/wiki/Special:Search/... https://en.wikinews.org/wiki/Special:Search/%E0%B8... https://en.wikiquote.org/wiki/Special:Search/%E0%B... https://en.wikisource.org/wiki/Special:Search/%E0%... https://en.wikiversity.org/wiki/Special:Search/%E0... https://en.wikivoyage.org/wiki/Special:Search/%E0%... https://en.wiktionary.org/wiki/Special:Search/%E0%...