สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ของ สถานีลาดพร้าว

ลาดพร้าว
Lat Phrao
รถไฟฟ้าบีทีเอส
ข้อมูลสถานี
เส้นทาง สายสีเหลือง 
เชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลาดพร้าว
รูปแบบสถานียกระดับ
รูปแบบชานชาลาแบบข้าง
จำนวนชานชาลา2
ถนนรัชดาภิเษก
เขต/อำเภอเขตจตุจักร
ข้อมูลอื่น
เปิดใช้งานพ.ศ. 2564
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00 น.
รหัส YL03 
ผู้รับผิดชอบบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ในฐานะทรัพย์สินของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
ทางออก4
บันไดเลื่อน8
ลิฟต์4
ที่ตั้ง

สถานีลาดพร้าว (รหัส YL03) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ยกระดับเหนือลานกิจกรรมเอนกประสงค์ของอาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง

ลานกิจกรรมเอนกประสงค์ ภายในพื้นที่ของอาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว บริเวณทิศเหนือของสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สถานีแห่งนี้เป็นหนึ่งในสองสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนถนน (อีกสถานีหนึ่งคือสถานีพหลโยธิน 24 ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ภายในสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน) เนื่องมาจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว มีโครงสร้างสะพานข้ามแยก และสะพานเชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจร ซึ่งเป็นสะพานลอยที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อครั้งดำเนินงานโยธาของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลตั้งอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถตั้งสถานีบนถนนได้เหมือนกับสถานีอื่น ๆ ของโครงการ อย่างไรก็ตามในแผนการศึกษาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน ได้มีการกำหนดแนวเส้นทางให้ย้อนกลับไปตั้งอยู่บริเวณเกาะกลางถนนรัชดาภิเษก ด้วยการเบี่ยงเส้นทางกลับหลังพ้นสะพานข้ามแยกลาดพร้าว และให้เบี่ยงกลับไปใช้ทางเท้าและพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินตามเดิมเพื่อสิ้นสุดโครงการต่อไป

ทั้งนี้ตามแผนงานเดิมของโครงการฯ สถานีแห่งนี้จะใช้ชื่อว่า สถานีรัชดา-ลาดพร้าว เพื่อสื่อถึงที่ตั้งและไม่ให้ซ้ำกับสถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล แต่ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนทาง รฟม. ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อสถานีเป็น สถานีรัชดา ซึ่งเป็นชื่อตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จนภายหลังการลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM ไปแล้ว ทาง รฟม. จึงได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น สถานีลาดพร้าว เนื่องจากทาง รฟม. เห็นว่าการใช้ชื่อสถานีรัชดาจะทำให้เกิดความสับสนกับ สถานีรัชดาภิเษก ของสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งอยู่ถัดจากสถานีแห่งนี้ไปประมาณหนึ่งกิโลเมตร จึงมีความเห็นให้ใช้ชื่อสถานีสถานีนี้ให้เหมือนกับสถานีของสายเฉลิมรัชมงคลจะเป็นการดีที่สุด[2]

รายละเอียดของสถานี

สีสัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีเหลืองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รูปแบบของสถานี

เป็นสถานียกระดับ ระดับชานชาลาอยู่สูง 17 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาด้านข้าง (Station with Side Platform)

ทางเข้า-ออก
  • 1 ถนนรัชดาภิเษก (ฝั่งมุ่งหน้าไปศาลอาญา)
  • 2 สวน รฟม. ลาดพร้าว, ซอยลาดพร้าว 23
  • 3 อาคารจอดแล้วจร

สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้าขบวนรถไฟสถานีต่อไป
สถานีจันทร์เกษม
มุ่งหน้า สถานีพหลโยธิน 24
  สายสีเหลือง  สถานีภาวนา
มุ่งหน้า สถานีสำโรง

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีลาดพร้าว http://maps.google.com/maps?ll=13.806447,100.57292... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8064... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=13.806447&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.806447,100.572... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/12448602... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Lat_Ph... https://metro.bemplc.co.th/Line-Maps.aspx?Line=1&S...