สถานีภาวนา

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายศรีนครินทร์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562[1] เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว ที่มีปัญหาการจราจรมาอย่างยาวนานโครงการเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวทั้งโครงการ มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีลาดพร้าว จากนั้นไปตามแนวถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ แล้วเบนไปทางทิศใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีแยกลำสาลี เชื่อมต่อกับสถานีหัวหมากของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน จากนั้นไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ แยกสวนหลวง แยกศรีอุดม แยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา แล้วเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสำโรง ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตรเดิมทีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้มีการพิจารณาออกเป็นหลายระบบหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นเป็นโครงสร้างใต้ดินแล้วยกระดับ หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจนถึงพัฒนาการแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก หรือเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาทั้งสาย หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย แต่จากการเสนอที่ผ่านมาตลอดจนการอนุมัติการดำเนินโครงการ ผลปรากฏว่าเป็นการออกแบบในส่วนของรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย[2]

สถานีภาวนา

เว็บไซต์ เว็บไซต์โครงการ
ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน บีทีเอสกรุ๊ป
ขบวนรถ บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300 (4 ตู้ต่อขบวน)
รูปแบบ รางเดี่ยว
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง
สีเขียวเข้ม ห้าแยกฯ – รัชโยธิน
พหลโยธิน 24 (ส่วนต่อขยาย)
จันทร์เกษม (ส่วนต่อขยาย)
สีน้ำเงิน พหลโยธิน – รัชดาภิเษก
รัชดา
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 71
สีเทา สังคมสงเคราะห์ – ศรีวรา
ลาดพร้าว 83
มหาดไทย
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
สีส้ม รามคำแหง 34 – ศรีบูรพา
แยกลำสาลี
สีน้ำตาล สนามกีฬาคลองจั่น
ศรีกรีฑา
สุวรรณภูมิ รามคำแหง – ทับช้าง
สีแดงอ่อน รามคำแหง / รถไฟตอ.
พัฒนาการ
กลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศูนย์ซ่อมบำรุงเทพรัตน-ศรีเอี่ยม
สีฟ้าอ่อน เทพรัตน 25 – เปรมฤทัย
ศรีเอี่ยม
ศรีลาซาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สุขุมวิท แบริ่ง – ปู่เจ้า
สำโรง
จำนวนสถานี 23 (ไม่รวมส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี)
เจ้าของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ระบบ รถไฟฟ้ามหานคร
สถานะ กำลังก่อสร้าง
ความเร็ว 80 km/h (50 mph)
เปิดเมื่อ พ.ศ. 2565
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร และ จ.สมุทรปราการ
ระยะทาง 32 กิโลเมตร
ปลายทาง สถานีพหลโยธิน 24
สถานีสำโรง
ผู้ดำเนินงาน บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
(กลุ่มบีทีเอส)
(สัญญาสัมปทานโครงการสิ้นสุด พ.ศ. 2594)