การออกแบบ ของ สถานีวัดมังกร

การออกแบบตัวสถานีทั้งภายนอกบริเวณระดับดินและภายใน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือชิโนโปรตุกีส เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ และยังสื่อสารถึงวัฒนธรรมแบบไทย-จีนของประชาชนชาวเยาวราชเป็นหลัก รวมถึงได้นำลวดลายของมังกรมาประดับใช้ในบริเวณสถานี ตั้งแต่เพดานบริเวณชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และบริเวณหัวเสาในสถานีที่ใช้สลับกับประแจจีนและลายดอกบัว และบริเวณทางลงเข้าสู่ตัวสถานี โดยได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากวัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ โดย เล่ง ในภาษาจีนแต้จิ๋ว คือ มังกร คำว่า เน่ย คือ ดอกบัว และ คำว่า ยี่ คือวัด[2] และยังได้มีการออกแบบเพดานให้มีความรู้สึกเหมือนกำลังลงไปอยู่ใต้ท้องของมังกร โดยให้ประตูทางเข้าสถานีเป็นส่วนหาง และหัวของมังกรอยู่ภายในบริเวณสถานี [3]

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)