ประวัติ ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน

ที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ปักกิ่งในยุคแรก
บทความนี้เกี่ยวกับบีทีวีในอดีต สำหรับบีทีวีในปัจจุบัน ดูที่ สถานีโทรทัศน์ปักกิ่ง

สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี เริ่มทดลองออกอากาศ ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ปักกิ่ง (อังกฤษ: Beijing Television อักษรจีน: 北京电视台) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 และเริ่มแพร่ภาพอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ปีเดียวกัน ในช่วงแรกนั้นออกอากาศเพียง 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที และมีเจ้าหน้าที่ของสถานีเพียง 30 คน ส่วนใหญ่จะมาจากสถานีวิทยุประชาชนกลางของจีน (CNR), สตูดิโอสารคดีข่าวและภาพยนตร์ และปักกิ่งออกัสเฟิสต์ฟิล์มสตูดิโอ

ต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 สถานีโทรทัศน์ปักกิ่ง เริ่มทดลองแพร่ภาพในระบบสี พัล-ดี ทางช่องสัญญาณที่ 2 ทุกวันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ โดยออกอากาศอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นซีซีทีวี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2521

ปลายปี ค.ศ. 1970 มีรายการที่ออกอากาศในช่วงเย็นเท่านั้น โดยปกติจะยุติการแพร่ภาพ ในเวลา 24.00 น. ช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยบางครั้งจะแพร่ภาพในช่วงกลางวัน ทั้งรายการสำหรับนักศึกษา (ในช่วงปิดภาคเรียน) พ.ศ. 2523 ซีซีทีวีทดลองถ่ายทอดข่าวจากท้องถิ่น มายังห้องส่งของสถานีฯ ด้วยระบบไมโครเวฟ ต่อมา พ.ศ. 2528 ซีซีทีวีกลายเป็นผู้นำเครือข่ายโทรทัศน์ของจีนแล้ว ความนิยมของซีซีทีวี ที่สำคัญคือ การปรับตัวอย่างน่าเชื่อถือ และการนำเสนอละครชุดเรื่อง ความฝันในหอแดง (อังกฤษ: Dream of the Red Chamber) ซึ่งออกอากาศทั้งหมด 35 ตอน นับเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรก ที่ผลิตเป็นดีวีดีออกจำหน่ายทั่วโลก และยังคงมีชื่อเสียงอย่างมาก ในปีเดียวกัน ซีซีทีวีส่งออกรายการโทรทัศน์ทั้งหมด 10,216 รายการ ให้กับสถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศถึง 77 แห่ง

ในปี พ.ศ. 2531 ได้ย้ายที่ทำการถาวรแห่งแรก ที่อาคารเลขที่ 11 ถนนฟู่ซิง ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2529 และได้รับอนุญาตให้ทำการโฆษณาเชิงพาณิชย์ได้

เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ซีซีทีวีเปิดอาคารที่ทำการ และสำนักงานใหญ่หลังใหม่ เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปีของสถานีฯ

การควบคุมเนื้อหา

อาคารซีซีทีวีหลังเก่า (ปัจจุบันเป็นสำนักงานใหญ่ของ CMG)

ในยุคแรก เนื้อหาที่ออกอากาศ ถูกควบคุมตามประกาศคำสั่ง ว่าด้วยการออกอากาศเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ของสำนักงานโฆษณา แห่งคณะกรรมการศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนปฏิรูปการปกครองประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ซีซีทีวีให้ความอิสระซึ่งเป็นที่ยอมรับ มาเป็นบรรทัดฐาน เนื่องจากมีความต้องการสั่งซื้อรายการของซีซีทีวีเข้ามาอย่างมาก ขณะที่ก่อนหน้านั้นมีศูนย์กลางในการควบคุมความเป็นอิสระนั้นอยู่

การปรับปรุงรูปแบบครั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันการแพร่ภาพที่ผิดวัตถุประสงค์ และปกป้องระบบสังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ เพศสัมพันธ์ ตลอดจนเนื้อหาที่รุนแรง ไม่ให้ไปถึงผู้ชมสื่อ ทั้งในและนอกประเทศจีนจำนวนมาก ในปีนั้น ซีซีทีวีแจ้งว่า ปริมาณเงินทุนสนับสนุนของสถานีฯ ลดลงอย่างมากโดยทันที ซึ่งมีสาเหตุมาจากความพยายามสร้างสมดุล ระหว่างบทบาททั้งสองของสถานีฯ กล่าวคือ การเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล และการเป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและโฆษณา

ระบบการออกอากาศ

เสาส่งซีซีทีวี ณ กรุงปักกิ่ง

ปัจจุบัน ซีซีทีวี มี 22 ช่องรายการในระดับชาติ (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555) ส่วนมากจะออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และใช้ช่องความละเอียดสูง (High Definition channel) รวมทั้งปรับปรุงระบบเสียงดอลบี สเตอริโอ (Dolby Stereo), ดอลบีรอบทิศทาง (Dolby Surround), ดอลบี เอสอาร์ (Dolby SR), ดอลบีเพิ่มความละเอียดของคุณภาพเสียง (Dolby Digital Advanced Sound Quality Definition) และการปรับปรุงระบบเสียงเหล่านี้ ได้รับการพัฒนาโดย ห้องปฏิบัติการดอลบี (Dolby Laboratories), DTS (ระบบเสียง) (สนับสนุนการขยายเสียงระบบสเตอริโอ Stereo Expansion Support)) และ โซนี่ ไดนามิค ดิจิทัล ซาวด์ (Sony Dynamic Digital Sound) (ควบคู่กันกับSDDS) เพื่อให้ผู้ชมจากทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศจีน สามารถรับฟังเสียงจากสถานีฯได้ เนื่องจากทางสถานีฯ มีศักยภาพในการพัฒนาที่ดีกว่า (ลักษณะเหล่านี้ยังไม่ได้ใช้ จนกว่ายุคของการแพร่ภาพโทรทัศน์จะได้พัฒนาต่อไป) และยังรวมถึง ระบบเสียงมัลติแชแนลปรับปรุง กับระบบเสียงดอลบี (Dolby) เพื่อให้เสียงสมจริง

เหตุเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. 2552

อาคารซีซีทีวีหลังใหม่ที่ถูกเพลิงไหม้อาคารซีซีทีวีหลังใหม่

ขณะที่สถานีโทรทัศน์กลางจีนได้เฉลิมฉลองในวันตรุษจีน เกิดเปลวไฟโหมกระหน่ำที่ทำให้โครงสร้างอาคาร 42 ชั้น ขณะที่กำลังก่อสร้าง สร้างไม่เสร็จทันตามกำหนด เพราะว่าสังกะสี ไทเทเนียม และโลหะ รวมถึงพื้นผิวรอบนอกกลายมาเป็นเชื้อเพลิงในการโหมกระหน่ำเปลวเพลิง โรงแรมแมนดาเรียนโอเลนเติ้ลได้ถูกทำลายก่อนที่คาดว่าจะเปิดตัวในปี ค.ศ. 2009 เหตุการณ์นี้ทำให้นักผจญเพลิงเสียชีวิตไปหนึ่งคน

ไฟนำมาซึ่งไปยังการเฉลิมฉลองของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีซึ่งไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะว่าเป็นการปกครองของสื่อ เหตุการณ์นี้เป็นการล้อเลียนต่อ netizens บุคคลที่นำสำเนาจากภาพถ่ายที่เกิดเหตุไฟใหม้และถูกวิจารณ์ CCTV จะตรวจการรายงานข่าวว่าเป็นความจริงหรือไม่ รูปภาพนั้นถูกนำไปแเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เกือบทุกเว็บไซต์

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)