ประวัติสถานี ของ สถานีเซนต์หลุยส์

สถานีเซนต์หลุยส์ขณะกำลังก่อสร้าง

ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีสถานีศึกษาวิทยาเป็นเพียงหนึ่งในสองโครงการศึกษาการเพิ่มสถานีในอนาคต เพื่อรองรับกับประชาชนที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ และโรงพยาบาลบางรัก (ปัจจุบันคือ ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค) แต่เนื่องจากในช่วงก่อสร้างบีทีเอสซีไม่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของย่าน จึงได้จัดเตรียมตอม่อแบบพิเศษที่รองรับการก่อสร้างสถานีในอนาคตแทนการก่อสร้างตัวสถานี และเก็บรหัสสถานีไว้สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ต่อมาได้มีการประเมินโอกาสในการเติบโตเป็นระยะ ซึ่งผลจากการประเมินปรากฏว่าไม่คุ้มทุน บีทีเอสซีจึงยกเลิกโครงการก่อสร้างสถานีและเก็บรหัสสถานีไว้เพื่อคิดค่าโดยสารตามระยะทางตามเดิม[3] อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2558 บีทีเอสซี ได้ยื่นเรื่องต่อ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ในฐานะผู้ดูแลกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท เพื่อขอเสนอฟื้นฟูโครงการขึ้นมาอีกครั้ง โดยขั้นต้นมีงบในการก่อสร้าง 450 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสซีจะจัดสรรงบลงทุนครึ่งหนึ่ง และให้กองทุนจัดหาเงินลงทุนอีกครึ่งหนึ่งโดยไม่มีการกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก การก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 18 เดือนนับจากวันที่โครงการได้รับการอนุมัติจากกรุงเทพมหานคร[4]

ต่อมา กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท ได้อนุมัติให้บีทีเอสซีดำเนินการก่อสร้างสถานีดังกล่าว ภายใต้งบประมาณในการก่อสร้างรวมงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคทั้งหมด 900 ล้านบาท แหล่งเงินทุนในการพัฒนาสถานีแบ่งเป็นเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท จำนวนครึ่งหนึ่ง และเงินจากกลุ่มบริษัทเอไอเออีกครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้กลุ่มเอไอเอ จะได้สิทธิ์ในการเชื่อมต่ออาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาธร เข้ากับตัวสถานีด้วย การก่อสร้างสถานีเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยมี บริษัท จอมธกล จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง งานโยธาทั้งหมดแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี 9 เดือน

ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้าง บีทีเอสซีได้ประกาศใช้ชื่อสถานีแห่งนี้อย่างเป็นทางการว่า สถานีเซนต์หลุยส์ ตามชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรใต้ และชื่อย่านที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ย่านเซนต์หลุยส์[1] แทนชื่อเดิมคือ สถานีศึกษาวิทยา อันเป็นชื่อของโรงเรียนศึกษาวิทยาเก่าที่ได้เลิกกิจการแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้ศึกษาวิทยา ยังเป็นชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรเหนืออีกด้วย

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)