ประวัติ ของ สถาบันการอาชีวศึกษา

ยุคก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิค ปี พ.ศ. 2495 - 2513

ในปี พ.ศ. 2495 กรมอาชีวศึกษาได้เริ่มจัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิค 5 แห่งที่กรุงเทพ ต่อมาก็มีวิทยาลัยเทคนิคที่สงขลา นครราชสีมา เชียงใหม่ และธนบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2502 - 2512 โดยความช่วยเหลือจากประเทศเยอรมนี จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในปัจจุบัน) ความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่น ในการจัดตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปัจจุบัน), ความช่วยเหลือจากประเทศเยอรมนี ในการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในปัจจุบัน) และความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรีย ในการจัดตั้ง โรงเรียนเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สถานศึกษาหลายแห่งได้รับการพัฒนาและเปิดสอนจนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และในปี พ.ศ. 2512 วิทยาลัยพณิชยการพระนคร ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัย แห่งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2522 กรมอาชีวศึกษามีวิทยาลัยอยู่ในสังกัด 159 แห่ง

นโยบายวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2514 - 2529

เมื่อมีพระราชบัญญัติ ปี พ.ศ. 2514 จึงมีการจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โดยรวมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ในสังกัดกรมอาชีวศึกษาไปรวมเป็นสถาบัน และเปิดการสอนถึงระดับปริญญาตรี และในช่วงปี พ.ศ. 2515 - 2522 ก็มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของโรงเรียนอาชีวศึกษา โรงเรียนการช่าง และโรงเรียนเกษตรกรรมค่าง ๆ เป็นวิทยาลัย มีประกาศใช้หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องปริญญาตรี 2 ปี

นโยบายการอาชีพ ปี พ.ศ. 2530 - 2555

เริ่มจากปี พ.ศ. 2530 มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยการอาชีพ" ในจังหวัดมุกดาหาร และแม่ฮ่องสอน เพื่อจัดการศึกษาทุกประเภทวิชาชีพและทุกหลักสูตร มีโรงเรียนสารพัดช่างวังไกลกังวลเป็ผู้นำทาง หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 93 แห่ง ในช่วงปี 2535-2539 และในปี พ.ศ. 2540 กรมอาชีวศึกษาก็ได้จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพ 70 แห่ง วิทยาลัยเทคนิค 19 แห่ง และวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว 2 แห่ง

นโยบายวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. 2550

ปี พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมกันทำ "โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง" เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทักษะด้านช่าง ในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยการอาชีพพานทองเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) เพื่อรองรับการขยายผลของนักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบของห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม (school in school)

สถาบันการอาชีวศึกษา

ในช่วงปี พ.ศ. 2555 - 2556 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกฎกระทรวงให้สถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษารวมกัน [1] [2] เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูง ผลิตบุคลากรสายอาชีพที่เชียวชาญ ชำนาญงาน เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยรองรับการศึกษาขั้นสูงระดับปริญญาตรี สถาบันการอาชีวศึกษาในนโยบายใหม่นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

ในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกอาชีวศึกษาจึงมีสถาบันการศึกษาในสังกัด 2 กลุ่ม

  1. สถาบันการอาชีวศึกษา และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ซึ่งเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี
  2. วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งเปิดสอนระดับชั้น ปวช. และ ปวส. เท่านั้น

ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนใช้กรอบมาครฐานการศึกษา ดังนี้


สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร

กิจกรรมปลูกไม้ดอก

ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 "กฎกระทรวง การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556" ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อจัดตั้ง "สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร" [2] เป็นการรวมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ให้เป็นหน่วยงานเดียวกัน โดยแยกตามภาค 4 ภาค

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันวิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก