กอทิกวิจิตร ของ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

หน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ที่ทำด้วยแกนหินที่แล่นขึ้นไปจนถึงส่วนที่เป็นฐานที่เป็นส่วนโค้งหน้าต่าง จากนั้นซี่ก็แตกม้วนเป็นลวดลายต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นโค้งที่เรียกกันว่า ลวดลายตกแต่งที่เห็นบนหน้าต่าง “หัวใจของยอร์คเชอร์” ที่มหาวิหารยอร์คด้านหน้าของมุขด้านตะวันตกของมหาวิหารยอร์คเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตรโดยเฉพาะในการใช้ลวดลายตกแต่งบนหน้าต่างบานกลางเหนือประตูทางเข้า กอทิกวิจิตรเป็นสมัยที่ใช้การตกแต่งอย่างวิจิตรในการสร้างหน้าต่างและหัวเสาที่มักจะเป็นลวดลายดอกไม้ไบไม้ต่าง ๆ

สมัย “กอทิกวิจิตร” (อังกฤษ: Decorated Gothic หรือ Decorated Period หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Decorated) เป็นคำที่ใช้โดยเฉพาะสำหรับสถาปัตยกรรมกอทิกของอังกฤษ ที่แบ่งย่อยออกเป็นอีกสองสมัย สมัยแรก “กอทิกเรขาคณิต” (Geometric style) ที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1250 ถึง ค.ศ. 1290 ต่อจากนั้นก็กลายเป็น “กอทิกลายโค้งม้วน” (Curvilinear) ที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1290 ถึง ค.ศ. 1350

ตามคำจำกัดความของนิโคลัส เพฟเนอร์กอทิกวิจิตรที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1250 จนถึง ค.ศ. 1350 เป็นลักษณะที่วิวัฒนาการมาจาก “กอทิกอังกฤษตอนต้น” ของคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่ตามมาด้วย “กอทิกเพอร์เพ็นดิคิวลาร์” ที่รุ่งเรืองต่อมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ส่วนทอมัส ริคแมนกำหนดว่ากอทิกวิจิตรรุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1307 จนถึง ค.ศ. 1377

องค์ประกอบของกอทิกวิจิตร

ลักษณะที่บ่งว่าเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตรคือการตกแต่งหน้าต่างด้วยลวดลายตกแต่ง (tracery) หน้าต่างเดี่ยวที่ไม่มีลวดลายไม่มีการแบ่งเป็นช่องจากสมัยกอทิกตอนต้นวิวัฒนาการมาเป็นหน้าต่างที่แบ่งเป็นช่องแคบ ๆ หรือเป็นซี่ (mullion) ที่ทำด้วยแกนหินที่แล่นขึ้นไปจนถึงส่วนที่เป็นฐานที่เป็นส่วนโค้งหน้าต่าง จากนั้นซี่ก็แตกม้วนเป็นลวดลายต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นโค้งที่เรียกกันว่า ลวดลายตกแต่ง (tracery) ที่มักจะเป็นจิกสามกลีบ หรือ จิกสี่กลีบ ในระยะแรกการตกแต่งก็เป็นแบบ “เรขาคณิต” ต่อมาก็ค่อย ๆ อ่อนช้อยขึ้นโดยเฉพาะเมื่อนำวงกลมที่เคยใช้ตกแต่งออกไปจากใต้โค้งมาเปลี่ยนเป็นการตกแต่งอย่างละเอียดอ่อนช้อยเริ่มทำกันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่นิยมกันอยู่ราวห้าสิบปี

การตกแต่งภายในในสมัยนี้มักจะใช้คอลัมน์ที่สูงและเพรียวที่งามกว่าที่ใช้กันในสมัยกอทิกตอนต้น ที่ใช้ในการช่วยรับน้ำหนักของเพดานโค้งแหลมที่สร้างอย่างซับซ้อนมากขึ้น โค้งที่ใช้เป็นโค้งสมมาตรและบัวตกแต่งรอบโค้งมักจะเด่นชัดกว่าที่ใช้กันในสมัยกอทิกตอนต้นแต่ลวดลายไม่ลึกเท่า และมักจะใช้การตกแต่งที่มีลักษณะเป็นแถบแคบ ๆ ตกแต่งรอบโค้ง นอกจากนั้นก็ยังมีการใช้ดอกไม้กลม (Ball flower) และดอกไม้สี่กลีบแทนการใช้บัวหยัก หรือลายฟันหมา (dog-tooth) ที่นิยมใช้กันในสมัยนอร์มัน ลวดลายไบไม้ดอกไม้หัวเสาก็แปลกใหม่และอ่อนช้อยและแตกต่างกันไปมากกว่าเดิม บางครั้งก็เป็นลวดลายแกะสลักจากพืชพันธุ์ไม้ที่พบในท้องถิ่น เช่นเดียวกับการตกแต่งผนังด้วยลายไขว้ (diaper) ต่าง ๆ

ตัวอย่างสำคัญ

ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่เป็นแบบกอทิกวิจิตรพบได้ในการตกแต่งมหาวิหารหลายแห่งในอังกฤษแต่ที่สำคัญ ๆ คือการตกแต่งมุขตะวันออกของมหาวิหารลิงคอล์น และมหาวิหารคาร์ไลล์ ทางด้านหน้าของมุขตะวันตกของมหาวิหารยอร์ค และมหาวิหารลิคฟิล์ด มหาวิหารเอ็กซิเตอร์เกือบทั้งหมดสร้างในลักษณะนี้ เช่นเดียวกับการสร้างจุดตัดของมหาวิหารอีลี (รวมทั้งหอตะเกียงแปดแหลี่ยมที่มีชื่อเสียงที่สร้างระหว่าง ค.ศ. 1322 ถึง ค.ศ. 1328 แทนหอเก่าที่ทลายลงมา และในการสร้างช่วงสามช่วงภายในบริเวณร้องเพลงสวดของชาเปลพระแม่มารี ในสกอตแลนด์ แอบบีเมลโรส (Melrose Abbey) ก็เป็นตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่ง แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะเหลืออยู่เพียงซากก็ตาม

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ http://www.britainexpress.com/architecture/decorat... http://www.britainexpress.com/architecture/early-e... http://www.britainexpress.com/architecture/perpend... http://www.btinternet.com/~timeref.htm http://www.hayquesufrir.com http://cal.bemidji.msus.edu/english/donovan/sabbjo... http://commons.wikimedia.org/wiki/Church_architect... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Church_comp... http://en.wikipedia.org/wiki/File:Ballflower_Glouc... http://en.wikipedia.org/wiki/File:Dog-tooth_orname...