ประวัติ ของ สถาปัตยกรรมจอร์เจียน

สถาปัตยกรรมจอร์เจียเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ตามมาจากสถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษของเซอร์คริสโตเฟอร์ เร็น, เซอร์จอห์น แวนบรูห์ และ นิโคลัส ฮอคสมัวร์ สถาปนิกคนสำคัญผู้สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงจากบาโรกคือโคเลน แคมพ์เบลล์ผู้ประพันธ์หนังสือที่มีอิทธิพล “Vitruvius Britannicus” (ไทย: สถาปัตยกรรมบริติช); ริชาร์ด บอยล์ เอิร์ลแห่งคอร์คที่ 4 และลูกศิษย์เอกวิลเลียม เคนท์; ทอมัส อาร์เชอร์; และ จาโคโม เลโอนิผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในอังกฤษ

ลักษณะของสถาปัตยกรรมจัดได้เป็นหลายประเภท แต่ลักษณะจอร์เจียหลักเป็นได้ทั้งสถาปัตยกรรมพาลเลเดียนและกอทิก และแบบจีน (Chinoiserie) ซึ่งเป็นลักษณะที่คู่กับโรโกโกของยุโรป ตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1760 การก่อสร้างสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยมีสถาปนิกผู้นำเช่นโรเบิร์ต อาดัม, เจมส์ กิบส์, เซอร์วิลเลียม เชมเบอร์ส, เจมส์ วัตต์, เฮนรี ฮอลแลนด์ และเซอร์จอห์น โซน สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกก็ได้รับการผสานเข้าไปในลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบจอร์เจีย ซึ่งเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีความสมส่วนและความสมมาตร ความสูงของหน้าต่างก็ใช้การคำนวณจากอัตราส่วนง่ายๆ ระหว่างความสูงและความกว้างหรือกับรูปทรงของห้อง คำว่า "Regular" เป็นคำที่ใช้ที่เป็นัยยะถึงความสมมาตร และ ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับกฎของสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก ถ้าขาดความสมมาตรจากการต่อเติมสถาปัตยกรรมแบบจอร์เจียกับสิ่งก่อสร้างเก่าก็จะถือว่าเป็นข้อบกพร่อง ความได้สัดส่วนที่เป็นระเบียบของด้านหน้าอาคารที่รายถนนเป็นวัตถุประสงค์ของการออกแบบเมืองของสถาปัตยกรรมแบบจอร์เจีย การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบจอร์เจียมักจะวางตามแบบลักษณะสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก (Classical order) และการตกแต่งที่มาจากกรีกและโรมันโบราณ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมักจะเป็นอิฐหรือหิน สีที่ใช้ก็มักจะเป็นสีแดง, ส้ม หรือ ขาว แต่สถาปัตยกรรมแบบจอร์เจียสมัยใหม่ใช้สีมากกว่าสีที่กล่าว

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี