สถาปัตยกรรมอาซูกะและนาระ ของ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นในยุคอาซูกะเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธเข้ามายังญี่ปุ่น จึงส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของยุคอาซูกะ วัดพุทธกลายมาเป็นศูนย์กลางของการบูชาและพิธีกรรม ส่วนพิธีกรรมกับหลุมศพเนินแบบเดิมนั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป[2] นอกจากนี้ ศาสนาพุทธยังนำแนวคิดการบูชา “คามิ” เข้ามายังญี่ปุ่น ทำให้ศาสนาชินโตเกิดการสร้างศาสนสถานถาวรขึ้นเพื่อบูชาคามิ อันนำมาสู่สถาปัตยกรรมชินโตที่พบในการสร้างศาลเจ้าชินโต

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดคือวัดโฮรีวจิ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนาระ สร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 เพื่อเป็นวัดส่วนพระองค์ในเจ้าชายโชโตกุ ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ 41 หลัง โดยมีอาคารสำคัญคือคนโด (金堂, Kon-dō โถงทองคำ) และเจดีย์ (โท) สูงห้าชั้น ตั้งอยู่ใจกลางบริเวณในพื้นที่เปิดที่ล้อมด้วยระเบียงมุงหลังคา (ไคโร) อาคาร “คนโด” นั้นสร้างขึ้นแบบจีน มีความสูงสองชั้น ใช้การก่อสร้างแบบ “เสาต่อคาน” (post-and-beam construction) และมีหลังคากระเบื้องแบบจั่วปั้นหยา (hipped-gabled) ที่เรียกว่า “อิริโมยะ[7][8]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี