สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本建築, Nihon kenchiku) มีลักษณะทั่วไปคือโครงสร้างไม้ที่ยกสูงจากพื้นดินเล็กน้อย หลังคากระเบื้องหรือสาน มีทางเข้าออกเป็นประตูบานเลื่อน (ฟุซุมะ) ซึ่งสามารถปิดกั้นขึ้นมาเป็นห้องแทนผนัง ทำให้สามารถจัดการเปลี่ยนแปลงการใช้งานห้องได้ ส่วนเฟอร์นิเจอร์จำพวกโต๊ะและเก้าอี้สูงไม่พบใช้จนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงโดยผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตก สถาปัตยกรรมโมเดิร์น สถาปัตยกรรมโพสต์-โมเดิร์น เข้ามาใช้ทั้งแนวคิดและเทคนิคการก่อสร้างสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดคือบ้านหลุมและโกดังในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากจีนฮั่นผ่านทางเกาหลี จึงเริ่มมีกความซับซ้อนในการก่อสร้างมากขึ้น เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาในญี่ปุ่น ราวคริสต์ศตวรรษ 6 มีผลอย่างมากให้มีการสร้างวัดพุทธที่ใช้เทคนิคการสร้างจากไม้ที่ซับซ้อน การก่อตั้งเมืองหลวงถาวรแห่งแรกที่เมืองนาระ ได้รับอิทธิพลมากจากถังและสุย มีลักษณะแปลนถนนแบบตาราง ลอกแบบมาจากฉางอัน เมืองหลวงของจีนในขณะนั้น เมื่อการก่อสร้างอาคาารมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดระบบการวัดขึ้น รวมถึงการออกแบบสวนที่เน้นความเงียบสงบ การเข้ามาของพิธีชงชาญี่ปุ่นยิ่งเน้นย้ำถึงความเรียบง่ายและถ่อมตนในการออกแบบในยุคการปฏิวัติเมจิเมื่อปี ค.ศ. 1868 มีผลอย่างมากต่อการเปปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นสองประการ ประการแรกคือชินบุทซุ บุนริ กฎหมายที่ออกบังคับให้แยกศาสนาพุทธออกจากศาสนาชินโต และแยกขาดวัดพุทธออกจากศาลเจ้าชินโต ซึ่งอยู่ร่วมกันมาเป็นพันปี[1] อีกประการหนึ่งคือเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลตะวันตกอย่างหนักเพื่อแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งนี้ส่งผลให้ทั้งรูปแบบและสถาปนิกถูกนำเข้ามาปรับเข้ากับสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมากขึ้น และยังมีอิทธิพลจากนักเรียนญี่ปุ่นที่ศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศนำสถาปัตยกรรมสากลเข้ามา

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์