สถาปัตยกรรมมัวร์
สถาปัตยกรรมมัวร์

สถาปัตยกรรมมัวร์

สถาปัตยกรรมมัวร์ (อังกฤษ: Moorish architecture) เป็นรูปแบบหนึ่งในสถาปัตยกรรมอิสลามที่ซึ่งมีวิวัฒนาการในโลกอิสลามตะวันตก อันรวมถึงอัลอันดะลุส (สเปนและโปรตุเกสภายใต้การปกครองของมุสลิมระหว่าง ค.ศ. 711 ถึง 1492), โมร็อกโก, แอลจีเรีย และตูนิเซีย[1][2][3][4][5] ศัพท์ มัวร์ มาจากคำที่ชาวยุโรปตะวันตกใช้เรียกชาวมุสลิมในภูมิภาคเหล่านั้นว่า "ชาวมัวร์"[6][7][8] ซึ่งมาจากคำในภาษาละตินว่า "เมารี" (Mauri) ซึ่งดั้งเดิมแล้วหมายถึงผู้ที่มาจากดินแดนเมาเรตานิอา (Mauretania) ซึ่งคือโมร็อกโกในปัจจุบัน[9] จึงทำให้บางครั้งมีผู้เรียกสถาปัตยกรรมมัวร์ว่า สถาปัตยกรรมอิสลามตะวันตก (Western Islamic architecture)[1][10]สถาปัตยกรรมมัวร์เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของชาวเบอร์เบอร์ในแอฟริกาเหนือ, ไอบีเรียยุคก่อนอิสลาม (โรมันโบราณ, ไบแซนไทน์ และวิซิกอธ) และอิสลามแบบตะวันออกกลาง องค์ประกอบที่เป็นที่รู้จักของสถาปัตยกรรมมัวร์ เช่น ช่องโค้งรูปเกือกม้าแบบ "มัวร์", สวนริยาฎ และลวดลายนูนต่ำเรขาคณิตและอะราเบสก์ในงานไม้ งานปูนแต่ง และงานกระเบื้อง (เช่น ซิลลีจญ์)[1][2][7][11][4] เมืองที่เป็นศูนย์กลางสำคัญของการพัฒนาสถาปัตยกรรมมัวร์ได้แก่ กอร์โดบา, อัลก็อยเราะวาน, แฟ็ส, มาร์ราเกช, เซบิยา, กรานาดา และตแลมแซนเป็นต้น[1]หลังจากการปกครองของมุสลิมในสเปนและโปรตุเกสสิ้นสุดลงแล้ว ธรรมเนียมของสถาปัตยกรรมมัวร์ยังคงปรากฏในแอฟริกาตอนเหนือและในสถาปัตยกรรมมูเดฆาร์ในสเปน ที่ซึ่งนำเอาองค์ประกอบของมัวร์ไปประยุกต์ใช้ในงานของศาสนาคริสต์[12][5] ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรากฏว่าสถาปัตยกรรมมัวร์ถูกนำมาเลียนแบบหรือพัฒนาขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมมัวร์ฟื้นฟู (Moorish Revival) หรือหรือมัวร์ใหม่ (Neo-Moorish) โดยเฉพาะในแถบสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลจากกระแสจินตนิยมในคตินิยมโลกตะวันออก นอกจากนี้ในปัจจุบันยังปรากฏสถาปัตยกรรมแบบมัวร์โดดเด่นเป็นพิเศษในสถาปัตยกรรมซิโนกอก ศาสนสถานของศาสนายิวที่สร้างขึ้นในยุคหลัง ๆ[13][14]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี