สถาปัตยกรรมวิชัยนคร
สถาปัตยกรรมวิชัยนคร

สถาปัตยกรรมวิชัยนคร

สถาปัตยกรรมวิชัยนคร (กันนาดา: ವಿಜಯನಗರ ವಾಸ್ತುಶಿಲ್ಪ) พบสร้างในช่วงปี ค.ศ. 1336–1565 เป็นวลีทางสถาปัตยกรรมที่ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในยุคจักรวรรดิวิชัยนคร ในบริเวณอินเดียใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงวิชัยนครบนลุ่มแม่น้ำตุงคพาทรา หมู่โบราณสถานที่ฮัมปีถือเป็นหลักฐานชิ้นำคัญของสถาปัตยกรรมวิชัยนคร และได้รับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก นอกจากการสร้างโบสถ์พราหมณ์ขึ้นใหม่ในอาณาจักร ยังมีการปรับปรุงและซ่อมแซมโบสถ์พราหมณ์เก่าจากยุคก่อนวิชัยนคร เช่น หมู่โบสถ์พราหมณ์ที่เขามหากุตะ เป็นสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมจากอาณาจักรจลุกยะตะวันตก ในขณะที่หมู่โบสถ์พราหมณ์แห่งฮัมปีนั้นสร้างมาตั้งแต่ก่อนยุควิชัยนคร สมัยที่เรียกหมู่ศาสนสถานนี้ว่า ปัมปาตีรถะ ราวปี ค.ศ. 689ในเมืองหลวงวิชัยคร มีหมู่โบราณสถานหลายร้อยแห่ง ในจำนวนนี้ 56 แห่งได้รับสถานะการคุ้มครองโดยยูเนสโก, 654 แห่งได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาลของรัฐกรณาฏกะ และอีก 300 แห่งนังไม่ได้รับสถานะการคุ้มครองจากหน่วยงานใด ๆ [1]สถาปัตยกรรมวิชัยนครสามารถจัดแบ่งกว้าง ๆ ออกเป็นเชิงศาสนา, เชิงการปกครอง และ เชิงที่อยู่อาศัย[2] รูปแบบของวิชัยนครเป็นการผสมผสานกันของรูปแบบจากอาณาจักรก่อนหน้า คือ จลุกยะ, ฮอยศาลา, ปันทยะ และ โจฬะ[3]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี