ศาสนถาน ของ สถาปัตยกรรมวิชัยนคร

โบสถ์พราหมณ์ยุคกลางศตวรรษที่ 14 ที่ศรีนครี หนึ่งในโบสถ์พราหมณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่สร้างโดยจักรพรรดิแห่งวิชัยนคร

โบสถ์พราหมณ์ยุควิชัยนครมักมีโครงสร้างปกคลุมที่แข็งแรง ในโบสถ์พราหมณ์เล็ก ๆ จะมีเพียง ครรภคฤห์ (ห้องประดิษฐานเทวรูป) และระเบียง ส่วนในโบสถ์พราหมณ์ขนาดกลางประกอบด้วยครรภคฤห์, ศุกันสี, นวรังคะ หรือ อันตรละ ที่เชื่อมโถงด้านในกับมณฑป และรังคมณฑปด้านนอก และในโบสถ์พราหมณ์ขนาดใหญ่จะมี รายโคปุระ เป็นหอทางเข้า (คำว่า “ราย” ด้านหน้าเพื่อระบุว่าสร้างโดย “รายะ” แห่งจักรวรรดิวิชัยนคร) สร้างขึ้นแบบโจฬะ บนยอดของโคปุระมี ศลศิขร รูปแบบที่ได้รับอิทธิพลทมิฬ-ทราวิฑนี้ เป็นที่นิยมในรัชสมัยของกฤษณเทวราย และสืบเนื่องมาในอีก 200 ปี ตามเทวสถานในแถบอินเดียใต้[4] ตัวอย่าง รายโคปุรัม เช่นที่ เจนนเกสวะมณเทียร ในเบลูร์, กรณาฏกะ และหมู่โบสถ์พราหมณ์ที่ศรีไสลัมและศรีรังคัม นอกจากองค์ประกอบหลัก ๆ เหล่านี้แล้ว ยังทีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อาจพบ เช่น โถงปิดสำหรับเวียนเทียน (ปรทักษิณปฐา) รอบครรภคฤห์, มหามณฑป (โถงใหญ่), กัลยณมณฑป (โถงพิธี) และอ่างเก็บน้ำ[5]

เสาของอาคารต่าง ๆ ฝั่งที่หันออกด้านนอกอาคารมักมีงานแกะสลักแสดงภาพของม้า หรือ สิ่งมีชีวิตในตำนานที่มีหน้าตาคล้ายกับกริฟฟินในตำนานตะวันตก เรียกว่า “ยัลลิ” อีกด้านหนึ่งของเสาทีหันหน้าเข้าในอาคารมีกแกะสลักเรื่องราวจากตำนานฮินดู[6] เสาที่ไม่มีงานแกะสลักม้าหรือยัลลี มักตกแต่งด้วยเรื่องราวจากตำนานฮินดูโดยรอบอย่างเดียว เสาบางเสามีเสาขนาดเล็ก ๆ ล้อมเสาหลักตรงกลาง ลักษณะความประดิดประดอยในงานแกะสลักนี้ แสดงให้เห็นถึงฝีมือและความวิจิตรของช่างแกะสลักในยุคสมัยนั้น ๆ อย่างชัดเจน[7]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี