ครรภคฤห์
ครรภคฤห์

ครรภคฤห์

ครรภคฤห์ หรือ ครรภคฤหะ[1] (สันสกฤต: गर्भगृह) หมายถึงห้องบูชาด้านในสุดของโบสถ์พราหมณ์ อันเป็นที่ประดิษฐานมูรติซึ่งเป็นเทวรูปเทพเจ้าฮินดูประจำโบสถ์นั้น ๆ คำว่า "ครรภคฤห์" แปลตรงตัวว่า "โถงครรภ์" มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "ครรภ-" ซึ่งหมายถึง "ครรภ์" และ "คฤห-' ซึ่งหมายถึง "บ้าน" โดยทั่วไปแล้วโถงนี้จะอนุญาตให้เฉพาะนักบวช (บูชารี) เข้าไปได้เท่านั้น หรือบางแห่งอนุโลมให้เฉพาะศาสนิกชนเท่านั้น[2] อย่างไรก็ตาม "ครรภคฤห์" นั้นสามารถพบในเชนสถานและวัดพุทธด้วยโถงนี้มีโครงสร้างเป็นห้องสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยประตูทางเข้าเพียงหนึ่งทางซึ่งมักสร้างหันไปทางทิศตะวันออก ไม่มีหน้าต่าง และประดิษฐาน "มูรติ" คือองค์เทวรูปอยู่ตรงกลาง ซึ่งคนภายนอกที่เข้ามาภายในเทวสถานสามารถมองเห็นได้บ้าง[3]ตามวาสตุศาสตร์ ครรภคฤห์จะสร้างอยู่ตรงกลางเทวสถาน และเหนือครรภคฤษ์คือโครงสร้างหอที่สร้างเพื่อคลุมห้องครรภคฤห์ จะสร้างเป็นแกนตัดกัน อันเป็นแกนหลักในการกำหนดการสร้างองค์ประกอบอื่น ๆ โดยทั่วไปมักเป็นแกนทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เชื่อว่าเป็นการจำลองคติเขาพระสุเมรุ โครงสร้างหอนี้มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาปัตยกรรม ได้แก่ ในอินเดียเหนือคือ "ศิขร" ในอินเดียใต้คือ "วิมาน" และในศาสนาฮินดูแบบบาหลี (ปูรา) คือ "เปลิงกีฮ์เมรู"[4] (pelinggih meru)ในปราสาทขอม ห้องครรภคฤหะ เรียกอีกชื่อได้ว่าห้อง "เรือนธาตุ" ด้านบนเป็นหอหลังคาสูงเป็นชั้นเรียกว่า "เรือนชั้น"