โครงสร้าง ของ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

พระที่นั่งอนันตสมาคม มีโครงสร้างหลังคายอดโดม แสดงความชำนาญด้านของโครงสร้างของช่างที่ได้เปลี่ยนรูปแบบใช้สอย

ตั้งแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2325-2367) วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนจะเน้นไปที่ไม้เป็นหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงรัชกาลที่ 3 ถึง 4 (พ.ศ. 2367-2411) จึงเริ่มมีวัสดุใหม่ ๆ เข้ามาในประเทศ เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศจีน วัสดุก่อสร้างแบบจีนได้รับความนิยม คือ กำแพงรับน้ำหนัก (Bearing masonry wall) ซึ่งใช้อิฐก้อนใหญ่ก่อผนังหนา ฉาบปูน และใช้ผนังด้านนอกเป็นกำแพงไปในตัว ทำให้บ้านแบบจีนนั้นดูหนักแน่นและทนต่อดินฟ้าอากาศ แต่เนื่องจากใช้ผนังในการรับน้ำหนัก รวมถึงชนิดที่ก่ออิฐหุ้มเสาไม้ซึ่งเป็นแกนใน ทำให้อาคารแบบจีนและแบบที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมีผนังชั้นบนกับชั้นล่างตรงกัน (เพื่อการถ่ายน้ำหนัก) อาคารส่วนใหญ่จึงมีลักษณะทึบ มีช่องเปิดเฉพาะบางส่วนของผนัง

ส่วนคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือสมัยก่อนเรียก เฟอร์โรคอนกรีต (Ferroconcrete) เข้ามายังประเทศไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-2453)[2] โดยช่วงแรกที่เริ่มใช้ก่อสร้างโครงสร้างด้วยวัสดุนี้ มักใช้กับเสา คาน และพื้นชั้นล่าง ส่วนพื้นชั้นบนยังคงใช้ตง และพื้นไม้อยู่ รูปทรงอาคารจึงยังไม่แตกต่างจากอาคารที่ใช้ระบบผนังรับน้ำหนักมากนัก ต่อมาช่างมีความชำนาญจึงได้เปลี่ยนรูปแบบใช้สอยให้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น ใช้เป็นหลังคายอดโดม ผนังโค้ง หรือกันสาด ฯ ทำให้โครงสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีรูปทรงที่ซับซ้อนขึ้น[3]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี