สถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม
สถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม

สถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม

สถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม (Indo-Islamic architecture) เป็นสถาปัตยกรรมของอนุทวีปอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงศาสนาอิสลาม สถาปัตยกรรมอินโด-อิสลามเริ่มต้นขึ้นพร้อมกับการแพร่หลายของศาสนาอิสลามบนอนุทวีปอินเดียหลังพระเจ้ามูฮัมมัดแห่งกอร์สถาปนาเมืองหลวงอิสลามขึ้นคือเดลี ในปี 1193 จากนั้นหลังทั้งรัฐสุลต่านเดลี และ จักรวรรดิโมกุล เข้ามาปกครองพื้นที่อนุทวีปอินเดีย ทั้งสองรัฐเป็นผู้สืบทอดเชื้อสายมาจากอัฟกานิสถาน หรือแถบเอเชียกลาง ก็ได้นำสถาปัตยกรรมแบบดังกล่าวมาสู่อนุทวีปอินเดียมาด้วย คือกลุ่มสถาปัตยกรรมอิหร่าน[1]สถาปัตยกรรมอินโด-อิสลามพบมากในมัสยิด และสุสาน (กุโบร์) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากสถาปัตยกรรมที่มีมาก่อนหน้าในอินเดีย กลุ่มสถาปัตยกรรมฮินดู โดยสิ้นเชิง ลักษณะสำคัญ เช่น โดมขนาดใหญ่ และการใช้โค้งจำนวนมาก อันเป็นลักษณะที่ไม่เคยพบในงานศิลป์แบบฮินดูเลย[2]วัสดุที่นิยมคือหิน โดยเฉพาะหินทราย ซึ่งแตกต่างจากงานสถาปัตยกรรมอิสลามในแถบตะวันออกกลางที่ใช้อิฐอย่างแพร่หลาย [3] สถาปัตยกรรมอินโดอิสลามพัฒนาขึ้นในเดลี ก่อนจะเผยแพร่ไปกับการขยายอาณาเขตของโมกุล ซึ่งทำให้ในแต่ละบริเวณมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมเฉพาะถิ่นไปอีก หลังจักรวรรดิโมกุลล่มสลาย สถาปัตยกรรมอินโดอิสลามเริ่มผสมผสานเข้ากับแบบฮินดู พบในการสร้างพระราชวังในยุคนั้นอย่างชัดเจนสถาปัตยกรรมอินโดอิสลามมีอิทธิพลมากต่อสถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมปากีสถาน สถาปัตยกรรมบังคลาเทศ และภายหลังอิทธิพลของอาณานิคมบริธิช ราช ก็ผสมผสานสถาปัตยกรรมโคโลเนียลแบบตะวันตกเข้ากับอินโดอิสลาม เกิดเป็นาถาปัตยกรรมสำคัญคือ สถาปัตยกรรมอินโด-ซาราเซนิก (Indo-Saracenic) และสถาปัตยกรรมฟื้นฟูอินโด-ซาราเซนิก (Indo-Saracenic Revival) ขึ้น

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี