สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในสหรัฐอเมริกา ของ สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

คฤหาสน์เบรกเคอร์ออกแบบโดยริชาร์ด มอรริส ฮันท์สำหรับตระกูลแวนเดอบิลท์ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1895

ลักษณะแบบอิตาลีเริ่มมามีความนิยมกันในสหรัฐอเมริกาโดยสถาปนิกอเล็กซานเดอร์ แจ็คสัน เดวิสในคริสต์ทศวรรษ 1840 ในการเป็นสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งนอกไปจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค หรือ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก คฤหาสน์ลิชฟิลด์ (Litchfield Villa) ที่สร้างโดยเดวิสในปี ค.ศ. 1854 ที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพรอสเพ็คพาร์ค, บรุคลินเป็นตัวอย่างที่ดีของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ที่เดิมเรียกกันว่าลักษณะ “คฤหาสน์อิตาลี” หรือ “คฤหาสน์ทัสคัน” กล่าวกันว่า คฤหาสน์แบลนด์วูดที่เดิมเป็นที่พำนักของข้าหลวงประจำรัฐนอร์ทแคโรไลนาจอห์น โมทลีย์ มอร์เฮดเป็นสิ่งก่อสร้างแบบอิตาลีที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[17] ตัวอย่างแรกๆ ของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีมีลักษณะคล้ายงานแบบอิตาลีโดยแนชมากกว่าที่จะเป็นงานที่มีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ที่ออกแบบโดยแบร์รี สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษริชาร์ด อัพจอห์นใช้สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในการก่อสร้างเป็นจำนวนมากที่เริ่มในปี ค.ศ. 1845 ด้วยคฤหาสน์เอ็ดเวิร์ด คิง สถาปนิกผู้อื่นที่ใช้การก่อสร้างลักษณะนี้ก็ได้แก่จอห์น น็อทมันที่หลายท่านกล่าวว่าเป็นผู้นำลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังสหรัฐอเมริกา และ เฮนรี ออสติน (สถาปนิก)[18] น็อทมันออกแบบคฤหาสน์ริเวอร์ไซด์ซึ่งเป็น “คฤหาสน์อิตาลี” คฤหาสน์แรกในเบอร์ลิงทัน, นิวเจอร์ซีย์ในปี ค.ศ. 1837

แบบอิตาลีที่ได้รับตีความหมายใหม่และกลายเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ใช้นำลักษณะเรอเนซองส์อิตาลีบางอย่างมาขยายให้เด่นขึ้น (exaggeration) โดยการเน้นชายคาที่รองรับโดยคันทวย และ หลังคาป้านไปจนราบที่เป็นชายคายื่นกว้างออกไปจากตัวอาคาร นอกจากนั้นก็มีการต่อเติมหอที่เป็นนัยยะของหอทัศนา หรือบางครั้งก็อาจจะถึงกับเป็นหอระฆัง

ลวดลายตกแต่งแบบอิตาลีก็ใช้ผสานเข้าไปในการตกแต่งสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการธุรกิจ ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมวิคตอเรียมาตั้งแต่กลางหรือปลายคริสต์ทศวรรษ 1800

ลักษณะสถาปัตยกรรมกลายมาเป็นที่นิยมกันมากกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกภายในคริสต์ทศวรรษ 1860 ความนิยมอันแพร่หลายมีสาเหตุมาจากความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและงบประมาณ และการวิวัฒนาการของการผลิตเหล็กหล่อ (cast-iron) และ press-metal ที่ทำให้การผลิตสิ่งตกแต่งเช่นบัวทำได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อมาถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1870 ความนิยมของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีก็มาแทนด้วยสถาปัตยกรรมควีนแอนน์ และ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูอาณานิคม

คฤหาสน์เบรกเคอร์ (นิวพอร์ท, โรดไอแลนด์) ออกแบบโดยริชาร์ด มอรริส ฮันท์สำหรับคอร์นีเลียส แวนเดอบิลท์ที่ 2 เป็นคฤหาสน์ 70 ห้องที่ทำการสร้างระหว่าง ค.ศ. 1893 ถึง ค.ศ. 1895 ที่มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีอย่างแท้จริงในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ภายนอกมีลักษณะเป็นพาลัซโซแบบเรอเนซองส์ แต่การก่อสร้างใช้เทคนิคที่ก้าวหน้าที่สุดของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการใช้โครงเหล็กกล้าและไม่มีการใช้ไม้ การใช้ปล่องไฟสูง, การใช้ปีกสิ่งก่อสร้างหลายปีกเรียงกัน, การใช้คันทวยที่ใหญ่กว่าปกติ, หลังคาจั่วแหลมที่มองเห็นได้ ต่างก็เป็นลักษณะของการตีความหมายของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีแบบอเมริกัน

คฤหาสน์เบรกเคอร์และลักษณะสถาปัตยกรรมของการก่อสร้างได้รับการวิจารณ์โดยผู้ออกความเห็นเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมว่าเป็น “ความหลงลักษณะสถาปัตยกรรมโบราณของยุโรปในการแปลงสถาปัตยกรรมพาลัซโซแบบเรอเนซองส์มาใช้กับที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล”[19] แต่เมื่อสร้างเสร็จคฤหาสน์เบรกเคอร์ก็กลายเป็นการแสดงออกของรสนิยมส่วนตัว และ ความมั่งคั่งของเจ้าของแทนที่จะแต่เพียงการแสดงออกของลักษณะสถาปัตยกรรม

ความนิยมสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในช่วงหลังจากปี ค.ศ. 1845 จะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมในเมืองซินซินแนติซี่งเป็นเมืองที่รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็ว (boomtown) เมืองแรกทางตะวันตกของเทือกเขาแอพเพเลเชียน ซินซินแนติเจริญขึ้นมาจากการขึ้นล่องตามแม่น้ำโอไฮโอ และเป็นเมืองที่มีกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีกลุ่มใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ที่ส่วนใหญ่สร้างโดยผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจากเยอรมนีที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีประชากรอยู่กันอย่างแออัด เมื่อไม่นานมานี้ก็เริ่มมีการเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมลักษณะนี้ที่เป็นสาเหตุให้มีการรณรงค์ในการเริ่มโครงการขนาดใหญ่เพื่อทำการอนุรักษ์กลุ่มสิ่งก่อสร้างอันน่าประทับใจดังกล่าว เมืองเพื่อนบ้านเช่นนิวพอร์ท, เคนทักกี และ โคฟวิงตัน, เคนทักกีต่างก็มีกลุ่มสิ่งก่อสร้างแบบอิตาลีอันน่าประทับใจเช่นกัน

การ์เดนดิสตริคท์, นิวออร์ลินส์ก็มีตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีที่งดงามอยู่บ้าง เช่นคฤหาสน์ 1331 เฟิร์สท์สตรีทที่ออกแบบโดยซามูเอล เจมิสัน หรือ คฤหาสน์ แวนเบนฮุยเซน-เอล์มส์

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มขึ้นเป็นเวลานานหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุที่ทำให้การตกแต่งรายระเอียดของสิ่งก่อสร้างทำจากวัสดุที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม การกระจายสินค้าไปยังตลาดต่างๆ ก็เป็นไปอย่างง่ายดายด้วยระบบการคมนาคมทางรถไฟ ฉะนั้นเราจึงอาจจะพบสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในเดนเวอร์สำหรับผู้มีฐานะดีอาจจะเป็นสิ่งเดียวกับที่ใช้ในการตกแต่งเรือนแถวของผู้ทำงานในโรงงานในพิตส์เบิร์ก[20]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี http://www.theage.com.au/news/New-South-Wales/Berr... http://www.bookrags.com/biography-john-nash/ http://www.economist.com/displaystory.cfm?story_id... http://books.google.com/books?id=AylB2M5DjaoC&pg=P... http://books.google.com/books?id=Gh8ZrZRKaRwC&pg=P... http://www.oldhouseweb.com/blog/the-italianate-sty... http://www.midtel.net/~mcselem/architecture/italia... http://www.blandwood.org/blandwood.html http://www.touruk.co.uk/houses/housebucks_clive.ht... http://www.virtual-shropshire.co.uk/photos/album07...