สนธิสัญญาทวิภาคีและพหุภาคี ของ สนธิสัญญา

สนธิสัญญาทวิภาคีทำระหว่างสองรัฐ[1]หรือองค์การ อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ว่าสนธิสัญญาทวิภาคีอาจมีภาคีมากกว่าสอง ตัวอย่างเช่น พิจารณาสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปหลังการปฏิเสธความตกลงพื้นที่เศรษฐกิจยุโรปของสวิสเซอร์แลนด์ สนธิสัญญาแต่ละฉบับมีภาคีสิบเจ็ดประเทศ แต่สนธิสัญญาเหล่านี้ก็ยังเป็นสนธิสัญญาทวิภาคี มิใช่พหุภาคี ภาคีแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม สวิตเซอร์แลนด์ ("ฝ่ายหนึ่ง") กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก ("อีกฝ่ายหนึ่ง") สนธิสัญญาก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกอย่างหลากหลาย ซึ่งมิได้สถาปนาสิทธิและข้อผูกมัดใด ๆ ระหว่างสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก

สนธิสัญญาพหุภาคีทำระหว่างหลายประเทศ[1] ความตกลงดังกล่าวก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างแต่ละภาคีและภาคีอื่นทุกภาคี

ใกล้เคียง

สนธิสัญญา สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ