การตั้งเงื่อนไขและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญา ของ สนธิสัญญา

ข้อสงวน

ข้อสงวนเป็นคำร้องขัดที่สำคัญของการยอมรับสนธิสัญญาของรัฐ ข้อสงวนเป็นถ้อยแถลงฝ่ายเดียวแสดงว่าต้องการระงับหรือเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันทางกฎหมายและผลกระทบของข้อผูกพันนั้นต่อรัฐที่สงวน ข้อสงวนจำต้องรวมไว้ในขณะที่ลงนามหรือให้สัตยาบัน ภาคีไม่สามารถเพิ่มข้อสงวนได้หลังเข้าร่วมสนธิสัญญาแล้ว

เดิมกฎหมายระหว่างประกาศไม่ยอมรับข้อสงวนสนธิสัญญา โดยจะปฏิเสธข้อสงวนจนกว่าภาคีทั้งหมดแห่งสนธิสัญญาจะยอมรับข้อสงวนอย่างเดียวกัน อย่างไรก็ดี เพื่อกระตุ้นให้มีรัฐเข้าร่วมสนธิสัญญาให้มากที่สุด จึงเกิดกฎที่ผ่อนปรนข้อสงวนมากขึ้น แม้บางสนธิสัญญายังห้ามข้อสงวนใด ๆ อย่างชัดเจน แต่ปัจจุบัน สนธิสัญญาโดยทั่วไปจะอนุญาตให้ถึงขอบเขตที่ไม่ขัดกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา

เมื่อรัฐจำกัดข้อผูกพันสนธิสัญญาผ่านข้อสงวนแล้ว ภาคีรัฐอื่นแห่งสนธิสัญญานั้นมีทางเลือกจะยอมรับหรือปฏิเสธข้อสงวน หากรัฐยอมรับข้อสงวน พันธกรณีระหว่างรัฐที่ตั้งข้อสงวนกับรัฐที่ยอมรับเป็นไปตามข้อสงวน หากรัฐคัดค้านข้อสงวน จะไม่มีการใช้บังคับข้อสงวนระหว่างรัฐที่คัดค้านกับรัฐที่ตั้งข้อสงวน

การแก้ไขเปลี่ยนแปลง

มีสามวิธีในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาที่มีอยู่แล้ว วิธีแรก การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการต้องให้ภาคีรัฐสนธิสัญญาผ่านขบวนการให้สัตยาบันใหม่ทั้งหมด การเจรจาบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญาอีกครั้งนั้นอาจยาวนานและยืดเยื้อ และบ่อยครั้งภาคีบางรัฐในสนธิสัญญาเดิมจะไม่เป็นภาคีในสนธิสัญญาที่ผ่านการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เมื่อกำหนดข้อผูกพันทางกฎหมายของรัฐ ภาคีหนึ่งในสนธิสัญญาเดิมและภาคีหนึ่งในสนธิสัญญาที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง รัฐจะผูกมัดเฉพาะโดยเงื่อนไขที่ภาคีทั้งสองตกลงกัน สนธิสัญญายังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่เป็นทางการโดยคณะมนตรีบริหารสนธิสัญญา (treaty executive council) เมื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงเฉพาะทางวิธีพิจารณาความ การเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคในกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาได้เช่นกัน ซึ่งพฤติกรรมของรัฐแสดงการตีความข้อผูกพันทางกฎหมายใหม่ภายใต้สนธิสัญญา การตรวจแก้สนธิสัญญาเล็กน้อยอาจมีมติเห็นชอบโดยบันทึกวาจา แต่บันทึกวาจาโดยทั่วไปสงวนไว้สำหรับเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับแก้ข้อผิดพลาดที่เห็นได้ชัดในข้อความที่ลงมติยอมรับ นั่นคือ ที่ซึ่งข้อความที่ลงมติยอมรับไม่ได้สะท้อนเจตนาของรัฐที่ลงมติยอมรับข้อความนั้นอย่างถูกต้อง

พิธีสาร

ในกฎหมายระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พิธีสารเป็นสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศทั่วไปซึ่งเสริมสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศฉบับก่อน ๆ พิธีสารสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาฉบับก่อน ๆ หรือเพิ่มเติมบทบัญญัติได้ ภาคีความตกลงก่อน ๆ ไม่จำเป็นต้องรับพิธีสาร บางครั้งจึงทำให้ประจักษ์ยิ่งขึ้นโดยเรียกว่า "พิธีสารเลือกรับ" (optional protocol) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อภาคีในความตกลงแรกจำนวนมากไม่สนับสนุนพิธีสาร

ตัวอย่างเช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งขอบข่ายงานเพื่อพัฒนาการผูกพันการจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ขณะที่พิธีสารเกียวโตมีบทบัญญัติและระเบียบเฉพาะที่ตกลงกันภายหลัง

ใกล้เคียง

สนธิสัญญา สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ