สนธิสัญญาควบคุมอาวุธบนพื้นสมุทร
สนธิสัญญาควบคุมอาวุธบนพื้นสมุทร

สนธิสัญญาควบคุมอาวุธบนพื้นสมุทร

สนธิสัญญาควบคุมอาวุธบนพื้นสมุทร (อังกฤษ: Seabed Arms Control Treaty) หรือ สนธิสัญญาพื้นสมุทร (อังกฤษ: Seabed Treaty) เป็นความตกลงพหุภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และอีก 84 ประเทศ ซึ่งห้ามจัดวางอาวุธนิวเคลียร์ หรือ "อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง" บนพื้นสมุทร (seabed) ใกล้จากแนวชายฝั่ง 12 ไมล์ (22.2 กม.) สนธิสัญญาดังกล่าวเปิดโอกาสให้ประเทศผู้ลงนามสังเกตการณ์ "กิจกรรม" พื้นสมุทรทั้งหมดของประเทศผู้ลงนามรายอื่นที่อยู่นอกเหนือเขต 12 ไมล์ เพื่อยืนยันการปฏิบัติตามสนธิสัญญาดังกล่าวมีชื่อเต็มว่า "สนธิสัญญา ว่าด้วยการห้ามจัดวางอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงอื่น บนพื้นสมุทร และพื้นมหาสุมทร กับทั้งใต้ดินแห่งพื้นสมุทรและพื้นมหาสุทรดังกล่าว" (Treaty on the Prohibition of the Emplacement of Nuclear Weapons and other Weapons of Mass Destruction on the Sea-Bed and the Ocean Floor and in the Subsoil Thereof)เช่นเดียวกับสนธิสัญญาแอนตาร์กติก สนธิสัญญาอวกาศ และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาควบคุมอาวุธบนพื้นสมุทรนี้มุ่งห้ามนำความขัดแย้งระหว่างประเทศและอาวุธนิวเคลียร์เข้าสู่ดินแดนที่ปลอดสิ่งดังกล่าวอยู่ตราบบัดนี้ อย่างไรก็ตาม การบรรลุความตกลงเกี่ยวกับพื้นท้องทะเลนี้ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ไม่ได้เจรจากันในการวางกรอบอีกสองความตกลงข้างต้นสนธิสัญญาดังกล่าวเปิดให้ลงนามในวอชิงตัน ดี.ซี., ลอนดอน และมอสโก เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 และมีผลบังคับใช้เมื่อวนัที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 เมื่อสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต และอีกมากกว่า 22 ประเทศ ได้รับมอบสัตยาบันสาร

สนธิสัญญาควบคุมอาวุธบนพื้นสมุทร

ภาคี 94[1] (ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2014)
เงื่อนไข 22 ประเทศให้สัตยาบัน (รวมถึงรัฐอาณานิคม)
ผู้เก็บรักษา รัฐบาลสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต
วันลงนาม 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1971
ผู้ลงนาม 84
ภาษา อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สเปน และจีน
วันมีผล 18 พฤษภาคม 1972

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา