การให้สัตยาบัน ของ สนธิสัญญาจันทรา

โดยที่สนธิสัญญานี้เป็นผลต่อยอดจากสนธิสัญญาอวกาศ (อังกฤษ: Outer Space Treaty) จึงมีความมุ่งประสงค์จะสถาปนาระเบียบเพื่อการใช้ประโยชน์จากดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ เช่นเดียวกับที่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎแห่งทะเล (อังกฤษ: United Nations Convention on the Law of the Sea) ได้กำหนดระเบียบการใช้ประโยชน์จากท้องทะเล (อังกฤษ: seabed) มาแล้ว

สนธิสัญญานี้ร่างเสร็จบริบูรณ์ใน ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) และมีผลใช้บังคับแก่รัฐภาคีในอีกห้าปีถัดมา คือ ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) โดยนับแต่วันที่มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) สนธิสัญญานี้มีรัฐชาติอนุวัติเป็นภาคีเพียงสิบสามรัฐเท่านั้น ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 1, ออสเตรีย 2, เบลเยียม 3, ชิลี 4, คาซัคสถาน 5, เลบานอน 6, เม็กซิโก 7, โมร็อกโก 8, เนเธอร์แลนด์ 9, ปากีสถาน 10, เปรู 11, ฟิลิปปินส์ 12 และ อุรุกวัย 13 และอีกสี่รัฐชาติที่ได้ลงนามแล้วแต่ยังมิให้สัตยาบัน คือ ฝรั่งเศส 1, กัวเตมาลา 2, อินเดีย 3 และ โรมาเนีย 4[1] โดยที่ความตกลงนี้ยังมิได้รับความสนใจจากรัฐส่วนใหญ่ที่ดำเนินกิจกรรมด้านการสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนอกโลก ความตกลงนี้จึงไม่มีผลทางพฤตินัยโดยตรงต่อกิจกรรมเช่นว่าที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา