สาระสำคัญ ของ สนธิสัญญาจันทรา

สนธิสัญญานี้ประกาศเจตนารมณ์ว่า ดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจะต้องได้รับการใช้สอยเพื่อประโยชน์แห่งรัฐทั้งปวงและประชาคมโลก กับทั้งประกันความคุ้มครองดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจากการตกเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยสนธิสัญญานี้มีข้อกำหนดดังนี้

  • ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าเพื่อประโยชน์ทางการทหาร รวมถึงเพื่อการทดลองอาวุธหรือเพื่อเป็นฐานที่ตั้งทางการทหาร
  • ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าโดยมิได้รับความยินยอมจากรัฐอื่นหรือโดยไม่ก่อประโยชน์แก่รัฐอื่น
  • การใช้เทห์ฟากฟ้า รวมถึงการค้นพบและการพัฒนาอันเนื่องจากการใช้ดังกล่าว ต้องแจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบทุกกรณี
  • รัฐทุกรัฐมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินการวิจัยบนเทห์ฟากฟ้า
  • รัฐที่ได้มาซึ่งตัวอย่างของแร่หรือสสารอื่นจากเทห์วัตถุ ต้องพิจารณาแบ่งส่วนตัวอย่างนั้นเพื่อจัดไว้ให้รัฐอื่นหรือประชาคมทางวิทยาศาสตร์ที่สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อใช้ในงานวิจัยได้
  • ห้ามการยังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบนเทห์ฟากฟ้า และรัฐที่ดำเนินกิจกรรมบนนั้นต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษโดยอุบัติเหตุ
  • ห้ามรัฐใด ๆ อ้างอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งใดก็ดีบนเทห์ฟากฟ้า
  • ห้ามบุคคลหรือองค์กรใดมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันมีแหล่งกำเนิดนอกโลก เว้นแต่เป็นองค์กรระหว่างประเทศหรือระหว่างรัฐบาล
  • การสกัดเอาและนำพาไปซึ่งทรัพยากรจากเทห์ฟากฟ้า ให้กระทำได้โดยระบอบระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international regime)

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา