ข้อความ ของ สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ

การลงนามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิศาลาชุนปันโรในเมืองชิโมโนเซกิ เป็นอาคารที่ลงนาม
สนธิสัญญาสันติภาพ สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นแลสมเด็จพระจักรพรรดิกรุงจีน ทรงปรารถนายิ่งให้ฟื้นฟูสันติภาพระหว่างสองประเทศแลข้าแผ่นดินในพระองค์ แลโปรดให้ขจัดเหตุอันจะก่อให้เกิดข้อปัญหาต่างๆในอนาคต จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้านามผู้มีอำนาจในพระปรมาภิไธยไว้เพื่อสำเร็จเสร็จการสนธิสัญญาสันติภาพ ดังความต่อไปนี้สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นโดยเคานต์ อิโต ฮิโระบุมิ จุนอี สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริชั้นสูงสุด ประธานคณะรัฐมนตรี กับไวเคานต์ มุสึ มุเนะมิสึ จุนอี สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ชั้นหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศแลสมเด็จพระจักรพรรดิกรุงจีนโดยหลี่ หงจาง พระอาจารย์อาวุโสในองค์รัชทายาท มหาเสนาบดีอาวุโส แลเสนาบดีว่าการพาณิชย์ประจำท่าเรือฝ่ายเหนือของจีน ข้าหลวงมณฑลจี๋หลี้ ขุนนางขั้นหนึ่ง กับ หลี่ จิ้งฟาง อดีตเสนาบดีกรมการทูต ขุนนางขั้นสองหลังแลกเปลี่ยนหนังสือแสดงอำนาจเต็ม ซึ่งได้ถูกตรวจว่าถูกต้องแลเปนไปตามธรรมเนียมที่เหมาะสมแล้ว จึงได้ตกลงตามข้อต่อไปนี้:—ข้อ 1 กรุงจีนยอมรับอย่างหนักแน่นต่อความเปนเอกราชแลอิสรภาพของกรุงเกาหลี แลฉนั้น การส่งราชบรรณาการแลพิธีการต่างๆของกรุงเกาหลีต่อกรุงจีนซึ่งจะอยู่ในระงับไว้เนื่องจากความเปนเอกราชแลอิสรภาพนั้น จะถูกล้มเลิกทั้งหมดในภายหน้าข้อ 2 กรุงจีนยอมยกให้แก่กรุงญี่ปุ่นซึ่งกรรมสิทธิ์แลอำนาจอธิปไตยถาวรในดินแดนต่อไปนี้ ตลอดจนทรัพย์ของหลวง, ปืนใหญ่, ป้อมปราการ ซึ่งตั้งอยู่ใน:(หนึ่ง) ส่วนใต้ของมณฑลเฝิ้งเทียน[...](สอง) เกาะไต้หวัน ตลอดจนบรรดาเกาะแก่งซึ่งพาดเกี่ยวหรือเปนของเกาะไต้หวันที่กล่าวมา(สาม) กลุ่มเกาะเผิงหู ซึ่งจะหมายถึง บรรดาเกาะแก่งระหว่างเส้นแวงที่ 119 ถึง 120 องศาทางตะวันออกของกรีนิช กับเส้นรุ้งที่ 23 ถึง 24 องศาเหนือข้อ 3 การวางแนวพรมแดนซึ่งได้อธิบายไปในข้อก่อนหน้าและได้แสดงบนแผนที่ซึ่งผนวกดินแดนแล้ว จะถูกพิสูจน์แลปักปันเขตโดยคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนร่วม ประกอบด้วยผู้แทนญี่ปุ่นตั้งแต่สองคนหรือมากกว่า กับผู้แทนจีนตั้งแต่สองคนหรือมากกว่า ซึ่งจะถูกแต่งตั้งในทันทีหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้ ในกรณีที่พรมแดนตามข้อบัญญัตินี้ถูกพบว่ามีข้อบกพร่องไม่ว่าจุดใดก็ตาม ทั้งความรับผิดชอบด้านการทำแผนที่หรือความรับผิดชอบในการพิจารณาการจัดการที่เหมาะสม จะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนเช่นกัน เพื่อปรับปรุงให้ถูกต้องคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนจะเข้าทำหน้าที่ในทันทีที่เปนไปได้ แลจะทุ่มเทกำลังเพื่อให้ได้ข้อสรุปผลภายในระยะเวลาหนึ่งปีหลังการแต่งตั้งอย่างไรก็ตาม การปรับแนวพรมแดนตามที่บัญญัติในหนังสือสัญญานี้ จะมีอยู่จนกว่าคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนได้ปรับแก้ไขให้ถูกต้อง หากมีการแก้ไขใดๆ จะต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งรัฐบาลกรุงญี่ปุ่นแลกรุงจีนข้อ 4 กรุงจีนยินยอมชำระแก่กรุงญี่ปุ่นซึ่งค่าปฏิกรรมสงครามเปนจำนวนเงิน 200,000,000 ตำลึงกู้ผิง จำนวนเงินที่กล่าวมาจะถูกชำระเป็นแปดงวด งวดแรกจำนวน 50,000,000 ตำลึงจะชำระภายในหกเดือน งวดที่สองจำนวน 50,000,000 ตำลึงจะชำระภายในสิบสองเดือนหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้ อีกหกงวดที่เหลือจะแบ่งจ่ายงวดละเท่าๆกันดังนี้ งวดแรกภายในสองปี งวดที่สองภายในสามปี งวดที่สามภายในสี่ปี งวดที่สี่ภายในห้าปี งวดที่ห้าภายในหกปี แลงวดที่หกภายในเจ็ดปีหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้ ดอกเบี้ยร้อยละห้าต่อปีจะเริ่มคิดกับส่วนที่ค้างจ่ายตามงวดที่กล่าวมา ตั้งแต่วันที่งวดแรกผิดนัดชำระอย่างไรก็ตาม กรุงจีนมีสิทธิที่จะชำระก่อนกำหนดเมื่อใดของงวดใดที่กล่าวมาก็ได้ ในกรณีที่ยอดทั้งหมดถูกชำระภายในสามปีหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้ ดอกเบี้ยทั้งหมดสามารถถูกเรียกคืนได้ แลดอกเบี้ยในสองปีครึ่งหรือระยะเวลาที่สั้นกว่า ถ้าได้ชำระแล้วจะถูกรวมเปนเงินต้นของงวดข้อ 5 ราษฎรของดินแดนซึ่งยกให้แก่กรุงญี่ปุ่นที่ต้องการอาศัยอยู่นอกเขตซึ่งยกให้เหล่านี้ ย่อมมีเสรีที่จะขายทรัพย์สินของเขาและย้ายออกไป เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะกำหนดเปนระยะเวลาสองปีหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้ เมื่อหมดระยะเวลาดังกล่าว ราษฎรเหล่านั้นจะมิอาจย้ายออกจากดินแดนเหล่านั้น ญี่ปุ่นอาจถือว่าราษฎรเหล่านั้นเปนข้าแผ่นดินญี่ปุ่นรัฐบาลทั้งคู่จะส่งกรรมาธิการหนึ่งคนหรือมากกว่าไปยังไต้หวันในทันทีหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้ เพื่อทำให้การส่งมอบสุดท้ายของมณฑลนั้นเปนการสมบูรณ์ภายในกรอบสองเดือนหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้[และข้ออื่นๆอีกหกข้อ]


ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา