การลงนาม ของ สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ

วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1895 ราชสำนักชิงได้ส่งคณะผู้แทนการลงนามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิโดยมี หลี่ หงจาง ผู้แทนสูงสุด นำคณะซึ่งประกอบไปด้วย หลี่ จิงฟาง ลูกชายของเขา อู่ถิงฟาง อุปทูตระดับสูง และเคอซื่อต๋าที่ปรึกษา โดยสารเรือกลไฟเยอรมันสองลำไปเจรจาสงบศึกกับฝ่ายญี่ปุ่นที่เมืองชิโมโนเซกิ (ปัจจุบันคือเมืองชิโมโนเซกิ จังหวัดยะมะงุจิ) วันที่ 19 มีนาคม หลี่ หงจางและคณะเดินทางมาถึงเมืองชิโมโนเซกิ พวกเขาพักในวัดอินโจจิซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารชุมปันโร พอถึงเวลาบ่ายสองโมงครึ่งของวันรุ่งขึ้น หลี่หงจางและคณะก็เดินก้าวเข้าสู่อาคารปันโรด้วยฝีเท้าหนักแน่น

ณ ชั้นบนของอาคารชุมปันโร มีเก้าอี้สิบกว่าตัวจัดวางรอบโต๊ะสี่เหลี่ยมขนาดค่อนข้างใหญ่ตัวหนึ่ง ฝ่ายญี่ปุ่นได้จงใจจัดวางกระโถนให้หลี่ หงจาง ผู้มีอายุเกินเจ็ดสิบปีเป็นการเฉพาะ ซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ในระหว่างการเจรจาครั้งแรก อิโต ฮิโระบุมิ ผู้แทนเจรจาฝ่ายญี่ปุ่น เสนอเงื่อนไขอันแสนโหดร้ายในการยุติสงครามแก่หลี่ หงจาง และแถลงว่า หากจีนไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้ญี่ปุ่นก็จะส่งทหารไปเพิ่มและทำสงครามอีกครั้ง แต่หลี่ หงจางกลับคาดหวังให้ญี่ปุ่นหยุดรบก่อน เขาวิงวอนให้ญี่ปุ่นลดเงื่อนไขที่ขูดรีดกับจีนลงบ้าง ผู้แทนของทั้งสองประเทศปะทะคารมกันอย่างดุเดือดต่างฝ่ายต่างไม่ยอมอ่อนข้อให้กันจนการเจรจาชะงักงันลง สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยจนถึงวันที่ 24 มีนาคม ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา