ผลที่ตามมาและมรดก ของ สนธิสัญญานานกิง

เนื่องจากสนธิสัญญานานกิงยังเป็นเพียงฉบับร่างและมีเพียงข้อกำหนดทั่วไปเท่านั้น ผู้แทนอังกฤษและจีนจึงได้ตกลงว่าจะมีสนธิสัญญาเสริมผนวกเข้าไปด้วยเพื่อให้ข้อตกลงต่าง ๆ มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1843 จึงได้มีการทำสนธิสัญญาโบกู เป็นสนธิสัญญาเสริมที่หูเหมิน นอกกว่างโจว

อย่างไรก็ตาม การทำสนธิสัญญาใน ค.ศ. 1842-43 ยังหลงเหลือประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปอยู่หลายประกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันยังมิได้แก้ไขสถานภาพของการค้าฝิ่น ถึงแม้ว่าสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1844 จะได้ห้ามชาวอเมริกันมิให้ขายฝิ่นอย่างชัดเจน การค้าฝิ่นยังคงดำเนินต่อไปโดยทั้งพ่อค้าอังกฤษและอเมริกันที่อยู่ในบังคับทางกฎหมายของกงสุลที่ตั้งอยู่ในจีนเท่านั้น การค้าฝิ่นในภายหลังได้รับรองว่าถูกต้องตามกฎหมายตามสนธิสัญญาเทียนจิน ซึ่งจีนได้ทำขึ้นหลังจากสงครามฝิ่นครั้งที่สอง

สนธิสัญญานานกิงได้ยุติระบบกว่างโจวที่มีอยู่เดิมและสถาปนาเค้าโครงใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการค้าโพ้นทะเลของจีน ซึ่งใช้กันเรื่อยมาในอีกร้อยปีข้างหน้า จีนได้รับความเสียหายอย่างมากจากการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรที่ชัดเจน การให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวต่างด้าว และการมอบสถานะชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวบางส่วนเป็นเพราะความได้เปรียบและบางส่วนเป็นเพราะทางการราชวงศ์ชิงไม่ทราบกฎหมายระหว่างประเทศหรือตระหนักถึงผลกระทบในระยะยาว การกำหนดอัตราภาษีศุลกากรที่ร้อยละ 5 สูงว่าอัตราภาษีเดิม แนวคิดของการมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการมอบภาระดูแลชาวต่างประเทศให้แก่ตำรวจชาติเดียวกัน และการปฏิบัติกับชาติอื่นในสถานะชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งดูเหมือนว่าจะเป็นการทำให้ชาวต่างประเทศเผชิญหน้ากันเอง ถึงแม้ว่าจีนจะได้รับอิสระในการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรเองในคริสต์ทศวรรษ 1920 แต่สิทธิสภาพนอกอาณาเขตยังไม่ได้รับการยกเลิกอย่างเป็นทางการกระทั่ง ค.ศ. 1943[4]

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา