ข้อตกลง ของ สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน

ข้อจำกัดระวางขับน้ำ
ประเทศเรือหลวงเรือบรรทุกอากาศยาน
จักรวรรดิอังกฤษ525,000 ตัน135,000 ตัน
สหรัฐ525,000 ตัน135,000 ตัน
ญี่ปุ่น315,000 ตัน81,000 ตัน
ฝรั่งเศส175,000 ตัน60,000 ตัน
อิตาลี175,000 ตัน60,000 ตัน

ข้อกำหนดต่างๆได้ยกเว้นเรือที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่กำลังก่อสร้าง สนธิสัญญาจำกัดระวางขับน้ำรวมของเรือหลวงของแต่ละประเทศที่ลงนามตามตารางด้านขวามือ ข้อเพิ่มเติมคือเรือหนึ่งลำต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 35,000 ตัน[1] และบรรทุกปืนใหญ่ลำกล้องไม่เกิน 16 นิ้ว (406 มม.)

"ระวางขับน้ำมาตรฐาน" ที่ถูกกำหนดไว้ในสนธิสัญญาจะไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง (และน้ำสำหรับหม้อน้ำ) เพราะอังกฤษอ้างให้เหตุผลว่ากิจการของอังกฤษที่มีอยู่ทั่วโลกในขณะนั้นทำให้ต้องการน้ำหนักบรรทุกสำหรับเชื้อเพลิงสูงกว่าชาติอื่นและเขาไม่ควรจะถูกเอาเปรียบ[2]

ปืนจากเรือประจัญบานกำลังถูกแยกชิ้นส่วนในอู่ทหารเรือฟิลาเดลเฟียในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1923 เรือ ยูเอสเอส เซาท์ คาโรไรนา (USS South Carolina) กำลังถูกแยกสิ้นส่วนในภาพพื้นหลัง

ลักษณะของเรือบรรทุกอากาศยานก็บรรจุอยู่ในสนธิสัญญา มีการกำหนดระวางขับน้ำรวมและกำหนดขนาดสูงสุดของเรือ ให้มีเรือบรรทุกอากาศยาน 2 ลำต่อชาติที่สามารถมีระวางขับน้ำเกิน 27,000 ตันแต่ไม่เกิน 33,000 ตัน ข้อกำหนดนี้สามารถหลบเลี่ยงให้สามารถสร้างเรือลาดตระเวนประจัญบานภายใต้การสร้างที่นำเรือบรรทุกอากาศยานกลับมาใช้ซ้ำและทำให้เกิดเรือ ยูเอสเอส เลกซิงตัน (USS Lexington) และ อะคะกิ (Akagi) ขึ้นมา จำนวนปืนใหญ่ที่บรรทุกในเรือบรรทุกอากาศยานถูกจำกัดอย่างมาก มันจะเป็นการละเมิดสนธิสัญญาถ้านำฝูงบินขนาดเล็กบรรจุในเรือประจัญบานและเรือมันว่าเรือบรรทุกอากาศยาน

สำหรับป้อมปราการและฐานทัพเรือ สหรัฐอเมริกา, จักรวรรดิบริติช และ จักรวรรดิญี่ปุ่น ตกลงจะรักษาสถานะที่เป็นอยู่ของป้อมปราการและฐานทัพเรือคงไว้ ณ เวลาที่ทำการลงนาม การสร้างป้อมปราการและฐานทัพไม่สามารถสร้างเพิ่มเติมได้ และห้ามเสริมสร้างที่มั่นและฐานทัพให้ดีขึ้นไม่ว่าจะในดินแดนหรือพื้นที่ครอบครองที่กำหนด โดยทั่วไปแล้วพื้นครอบครองที่กำหนดจะอนุญาตให้ก่อสร้างบนชายฝั่งทะเลที่สำคัญของประเทศ แต่ไม่ได้อยู่ในดินแดนหมู่เกาะขนาดเล็ก เช่น สหรัฐอเมริกาสามารถสร้างได้ที่รัฐฮาวาย และบนแผ่นดินรัฐอะแลสกา ไม่ใช่บนหมู่เกาะอะลูชัน (Aleutian islands) กองทัพเรือของจักรวรรดิบริติชถูกพิจารณาภายใต้สนธิสัญญาเป็นหนึ่งองค์กรการปกครองก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกันและโรงงานของราชนาวีออสเตรเลีย (ซึ่งต้องยกเลิกการสร้างเรือลาดตระเวนประจัญบาน เอชเอ็มเอเอส ออสเตรเลีย) และหมวดกองทัพเรือนิวซีแลนด์สามารถสร้างขึ้นโดยรัฐบาลของตนตามลำดับ แต่ไม่ใช่ฐานทัพของฮ่องกง ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้บนแผ่นดินแม่ ไม่ใช่ฟอร์โมซา (ไต้หวัน)

ประเทศสมาชิกที่ลงนามในสนธิสัญญาได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนหรือจัดสร้างเรือได้ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา แต่สร้างหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องมีการแจ้งให้ประทศผู้ลงนามอื่นๆทราบ

ในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1934 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้แจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการว่ามีจุดประสงค์ที่จะยุติสนธิสัญญา บทบัญญัติของสนธิสัญญายังคงบังคับใช้จนถึงสิ้น ค.ศ. 1936 และก็ไม่ได้มีการต่ออายุสนธิสัญญา

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)