เบื้องหลัง ของ สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน

ผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิบริติชมีกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก ตามติดมาด้วยสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นซึ่งทิ้งห่างพอสมควร ทั้งสามชาติได้เริ่มดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่จะสร้างเรือหลวงลำใหม่ (เรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนประจัญบาน) ในปี ค.ศ. 1920 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศจุดมุ่งหมายที่จะสร้างกองทัพเรือไม่เป็น"สองรองใคร"และได้วางกระดูกงูเรือประจัญบาน 5 ลำและเรือลาดตระเวนประจัญบาน 4 ลำ ญี่ปุ่นเองก็ได้เริ่มโครงการกองเรือที่ 88 (เรือประจัญบาน 8 ลำและเรือลาดตระเวนประจัญบาน 8 ลำ) ในตอนต้นของปี ค.ศ. 1921 อังกฤษได้สรุปการออกแบบและสั่งสร้างเรือประจัญบานขนาดใหญ่ 4 ลำ (เรือลาดตระเวนประจัญบาน จี3) และแผนสำหรับเรือประจัญบาน 4 ลำ (เรือประจัญบาน เอ็น3) ซึ่งจะตามมา การสร้างเรือหลวงจำนวนมากนี้ได้ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเป็นการแข่งขันทางนาวิกานุภาพครั้งใหม่คล้ายกับการแข่งขันระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี เดรดนอต ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)