สัญญาลับ ของ สนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–สหภาพโซเวียต

ข้อตกลงลับในสนธิสัญญา

สนธิสัญญาดังกล่าวมีสัญญาลับหลายประการ โดยส่วนหนึ่งอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนประชากรสัญชาติรัสเซียและเยอรมันระหว่างทั้งสองประเทศจากเขตยึดครองโปแลนด์ของแต่ละฝ่าย การกำหนดเขตอิทธิพลในยุโรปกลางใหม่จากสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ตลอดจนถึงข้อตกลงในการปราบปราม "การปลุกปั่นของชาวโปแลนด์"

เมื่อกองทัพเยอรมันรุกรานโปแลนด์ เยอรมนีได้ยึดครองจังหวัดลูบลินและทางตะวันออกของจังหวัดวอร์ซอ ซึ่งเป็นดินแดนที่กำหนดให้อยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียตตามสนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ เพื่อชดเชยความสูญเสียดังกล่าว ข้อตกลงลับในสนธิสัญญานี้จึงได้โอนลิทัวเนีย ยกเว้นดินแดนส่วนเล็ก ๆ ในแคว้นซูเวากีหรือที่บางครั้งถูกเรียงว่า สามเหลี่ยมซูเวากี ให้อยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต หลังจากการโอนดินแดนดังกล่าว สหภาพโซเวียตได้ยื่นคำขาดต่อลิทัวเนียและยึดครองประเทศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2483 และสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)