ผลที่ตามมา ของ สนธิสัญญาโลคาร์โน

สนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นถูกพิจารณาว่ามันจะเป็นหลักสำคัญที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายในทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มต้นด้วยความหวังที่จะมีสันติภาพทั่วโลก เรียกว่า "จิตวิญญาณแห่งโลคาร์โน" ซึ่งปรากฏให้เห็นเมื่อเยอรมนีเข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ และภายในเดือนมิถุนายน 1930 กองทัพพันธมิตรก็ถอนตัวออกจากแคว้นไรน์แลนด์ทั้งหมด

ตรงกันข้ามกับโปแลนด์ มหาชนชาวโปแลนด์ได้รับควมอับอายจากความล้มเหลวของทูตโปแลนด์และเป็นเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลของโปแลนด์ สนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นก็ยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับโปแลนด์เลวร้ายลงไปอีก (แม้ว่าจะยังคงเป็นพันธมิตรระหว่างกัน) และเป็นจุดเริ่มต้นของความหวาดระแวงระหว่างโปแลนด์กับชาติตะวันตก[2] สนธิสัญญาโลคาร์โนได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และส่วนที่เหลือไม่ได้รับการคุ้มครอง ดังคำของ Józef Beck กล่าวไว้ว่า "เยอรมนีได้ขออย่างเป็นทางการจะโจมตีทางตะวันออก เพื่อให้ทางตะวันตกเกิดสันติภาพ"[3] ความล้มเหลวในการเจรจาจากสนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นเป็นตัวแปรหนึ่งที่ Józef Piłsudski ตัดสินใจที่จะล้มล้างรัฐสภาของโปแลนด์[4]

ข้อยกเว้นหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากสนธิสัญญาโลคาร์โนก็คือ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้มองตะวันตก (détente) นั้นได้พยายามเก็บตัวเองจากความขัดแย้งในทวีปยุโรปด้วยนโยบายโดดเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการถอดถอนเยอรมนีออกจากความสัมพันธ์กับตนภายใต้สนธิสัญญาลาพาลโลแห่งปี 1922 และความตึงเครียดก็ได้เริ่มขึ้นในช่วงยุโรปตะวันออก ด้วยเหตุนี้ เยอรมนีจึงจ่ายเงินราว 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้กับสหภาพโซเวียต

จิตวิญญาณแห่งโลคาร์โนนั้นมิได้คงอยู่เมื่อแนวคิดชาตินิยมได้ถูกฟื้นฟูขึ้นในเยอรมนีตั้งแต่ปี 1930 ได้มีการเสนอในปี 1934 ให้มีการลงนามในสนธิสัญญา"โลคาร์โนตะวันออก" ซึ่งน่าจะรักษาเขตแดนด้านตะวันออกของเยอรมนีซึ่งมีท่าทีไม่สงบ และโปแลนด์ก็ยืนกรานให้ประเทศตะวันตกได้ให้คำรับรองแก่เขตแดนดังกล่าว ฮิตเลอร์นั้นได้ละเมิดสนธิสัญญาโลคาร์โนโดยตรงด้วยการส่งทหารเข้าไปยึดครองไรน์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 1936

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)