สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมนี–โปแลนด์

สนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมัน-โปแลนด์ (เยอรมัน: Deutsch-polnischer Nichtangriffspakt; โปแลนด์: Polsko-niemiecki pakt o nieagresji[1][2]) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศระหว่างนาซีเยอรมนีและสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ลงนามเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1934 จากข้อความในสนธิสัญญาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาด้วยการเจรจาสองฝ่าย และประกันจะไม่มีการเผชิญหน้ากันทางทหารเป็นเวลาสิบปี ซึ่งเป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างนาซีเยอรมนีและโปแลนด์ที่เกิดความตึงเครียดตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศจากผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย โดยเยอรมนีรับประกันแนวชายแดนของโปแลนด์ และยุติการกดดันทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นจากข้อความในสนธิสัญญาดังกล่าว โปแลนด์ยืนยันว่าสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้เป็นการลบล้างผลจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งได้กระทำไว้ก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ และจากการที่ความตึงเครียดกับเยอรมนีลดน้อยลงจากการเจรจาสองฝ่าย ฐานะของฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเยอรมนีจึงด้อยลงไปเสียเพื่อระงับความกังวลว่าความสัมพันธ์ระหว่างโปแลนด์กับพันธมิตรตะวันตกจะขาดสะบั้นลง ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 โปแลนด์ได้ร่างสนธิสัญญาไม่รุกรานโปแลนด์-โซเวียตใหม่อีกครั้ง ซึ่งได้ลงนามในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1932สนธิสัญญาดังกล่าวทำให้โปแลนด์ยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเยอรมนีได้อีกเป็นเวลาห้าปี ขณะที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่สนใจนโยบายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสันนิบาติชาติ และไม่สนใจในโครงการป้องกันร่วมกันซึ่งเสนอโดยฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930หลังจากได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานเยอรมัน-โปแลนด์แล้ว ก็ตามด้วยข้อตกลงทางการค้ากับเยอรมนี ว่ากันว่าข้อตกลงดังกล่าวได้ทำให้ชาวเยอรมันตั้งรกรากอยู่ตามแนวชายแดนทางด้านตะวันออก และเป็นการให้เวลาแก่ฮิตเลอร์ในการเสริมสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และอีกห้าปีหลังจากนั้น กองทัพเยอรมันก็รุกรานโปแลนด์ได้สำเร็จ[3][4] ที่เป็นดังนี้เพราะ นโยบายของเยอรมนีเปลี่ยนไปในปี ค.ศ. 1938 หลังจากการผนวกซูเตเดนแลนด์ และโปแลนด์ได้กลายเป็นเป้าหมายต่อไปของฮิตเลอร์ ในเดือนตุลาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอปได้เสนอว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของสนธิสัญญาไม่รุกรานกันใหม่ และอนุญาตให้นครเสรีดานซิกผนวกเข้ากับดินแดนเยอรมนีได้ และขออนุญาตในการสร้างทางด่วนเชื่อมระหว่างเยอรมนีกับมณฑลปรัสเซียตะวันออก ผ่านทางฉนวนโปแลนด์ ซึ่งโปแลนด์ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยกเลิกผลของสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1938[5]

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา