สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (อังกฤษ: Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons หรือเรียกทั่วไปว่า Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ และเพื่อผลักดันเป้าหมายการบรรลุการลดอาวุธนิวเคลียร์และการลดกำลังรบโดยทั่วไปและสมบูรณ์[1]สนธิสัญญาฯ เปิดให้ลงนามในปี 2511 มีผลใช้บังคับในปี 2513 วันที่ 11 พฤษภาคม 2538 มีการขยายสนธิสัญญาฯ ขยายเวลาไปอย่างไม่มีกำหนด มีประเทศที่ปฏิบัติตาม NPT มากกว่าความตกลงจำกัดอาวุธและลดกำลังรบอื่นใด อันเป็นหลักฐานความสำคัญของสนธิสัญญาฯ[1] มี 191 รัฐเข้าร่วมสนธิสัญญาฯ แม้ว่าเกาหลีเหนือ ซึ่งเห็นชอบ NPT ในปี 2528 แต่ไม่เคยปฏิบัติตาม โดยประกาศถอนตัวในปี 2546[2] มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติสี่รัฐไม่เคยเข้าร่วม NPT ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล ปากีสถานและเซาท์ซูดานสนธิสัญญาดังกล่าวรับรองรัฐอาวุธนิวเคลียร์ห้ารัฐ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรห้าประเทศแห่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย) สี่รัฐอื่นที่ทราบหรือเชื่อว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถานและเกาหลีเหนือทดสอบอย่างเปิดเผยและประกาศว่าตนครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ฝ่ายอิสราเอลมีนโยบายปกปิดโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของตนNPT ประกอบด้วยคำปรารภและ 11 ข้อ แม้ไม่มีการแสดงมโนทัศน์ "เสา" อยู่ที่ใดใน NPT กระนั้น บางครั้งมีการตีความสนธิสัญญาว่าเป็นระบบสามเสา ซึ่งส่อความความสมดุลระหว่างเสา ดังนี้NPT มักถูกมองโดยยึดการต่อรองศูนย์กลาง คือ "รัฐมิใช่อาวุธนิวเคลียร์ตาม NPT ตกลงว่าจะไม่ได้มาซึ่งอาวุธนิวเคลียร์และเพื่อเป็นการตอบแทน รัฐอาวุธนิวเคลียร์ NPT ตกลงแบ่งประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติและแสวงการลดอาวุธนิวเคลียร์โดยมุ่งกำจัดคลังแสงนิวเคลียร์ของตนในบั้นปลาย"[4] มีการทบทวนสนธิสัญญาดังกล่าวทุกห้าปีในการประชุมเรียก การประชุมทบทวนของภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ แม้เดิมเข้าใจว่าสนธิสัญญามีระยะเวลาจำกัด 25 ปี แต่ภาคีผู้ลงนามตัดสินใจเป็นมติเห็นพ้องให้ขยายสนธิสัญญาอย่างไม่มีกำหนดและโดยปราศจากเงื่อนไขระหว่างการประชุมทบทวนในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2538 เป็นผลจากความพยายามของรัฐบาลสหรัฐที่สำเร็จ โดยมีเอกอัครราชทูต โทมัส เกรแฮม จูเนอร์ เป็นผู้นำเมื่อมีการเสนอ NPT นั้น มีการทำนายว่าจะมีรัฐอาวุธนิวเคลียร์ 25–30 รัฐใน 20 ปี ทว่า กว่าสี่สิบปีให้หลัง มีห้ารัฐที่ไม่เป็นภาคี NPT และรวมอีกสี่รัฐเท่านั้นที่เชื่อว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์[4] มีการใช้มาตรการเพิ่มหลายอย่างเพื่อเสริมความเข้มแข็งของ NPT และระบอบการไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์ที่กว้างกว่า และทำให้รัฐยากที่จะได้มาซึ่งสมรรถนะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งรวมการควบคุมการส่งออกของกลุ่มผู้จัดหานิวเคลียร์และมาตรการพิสูจน์ยืนยันที่มีการเสริมของพิธีสารเพิ่มเติมของ IAEA

สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

ภาคี 190
ผู้ที่มิใช่ภาคี ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล ปากีสถาน และเซาท์ซูดาน
เงื่อนไข สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและรัฐผู้ลงนามอื่นอีก 40 รัฐให้สัตยาบัน
ผู้เก็บรักษา รัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
มีผลวันที่ 5 มีนาคม 2513
วันลงนาม 1 กรกฎาคม 2511
สถานที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ภาษา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส สเปนและจีน

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา