สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: City of Manchester Stadium) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาอัลติฮัด (อังกฤษ: Etihad Stadium) ด้วยเหตุผลตามชื่อผู้สนับสนุน[2] หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า คอมส์ (CoMS) หรือ อีสต์แลนส์ (Eastlands)[11][12] เป็นสนามกีฬาในเมืองแมนเชสเตอร์ เป็นสนามกีฬาเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เป็นสนามกีฬาใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทีมพรีเมียร์ลีก และใหญ่เป็นอันดับ 12 ในสหราชอาณาจักร มีจำนวนที่นั่ง 47,805 ที่[3][8]เดิมทีสนามกีฬามีวัตถุประสงค์สำหรับเป็นสนามแข่งกีฬาหลักในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่สหราชอาณาจักรพลาดการประมูลไป[13] จนได้ชนะการประมูลในการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ 2002 หลังจบการแข่งขันได้ลดความจุสนามจาก 80,000 คน ไปเป็น 50,000 คน สนามแห่งนี้ก่อสร้างโดยเลียงคอนสตรักชัน ด้วยงบประมาณ 112 ล้านปอนด์[10][14] โดยออกแบบโดยอารัปสปอร์ต[15]เพื่อแน่ใจว่าจะไม่ใช่โครงการที่เสี่ยง แมนเชสเตอร์ซิตีจึงตัดสินใจรับสนามกีฬาแห่งนี้แทนที่สนามกีฬาเก่า เมนโรด ทันทีที่การแข่งขันจบลง ก็ได้มีการเพิ่มที่นั่งลดหลั่นเจาะลงไปในลู่วิ่งเดิม[16] การปรับปรุงนี้ทางสภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์จ่ายไป 22 ล้านปอนด์[10][14] และแมนเชสเตอร์ซิตีจ่ายเพิ่มอีก 20 ล้านปอนด์[10][14] และเพิ่มที่จำหน่ายเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และพื้นที่สันทนาการอื่น สโมสรย้ายเข้ามาใช้สนามแห่งใหม่ระหว่างช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2003นอกจากแข่งขันกีฬาแล้ว ยังใช้จัดนัดแข่งขันยูฟ่าคัพ 2008 นัดการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ นัดแข่งขันรักบี้ระหว่างประเทศ แข่งขันมวย และคอนเสิร์ตอีกหลายคอนเสิร์ต[17]

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์

มูลค่าการก่อสร้าง 112 ล้านปอนด์ (ก่อสร้างเป็นสนามแข่งกรีฑา)[10]
22 ล้านปอนด์ (ดัดแปลงเป็นสนามฟุตบอล)[10]
20 ล้าน (กรอบอาคารสนามฟุตบอล)[10]
พื้นสนาม เดสโซกราสมาสเตอร์
สถาปนิก อารัป (ออกแบบสถาปัตยกรรม)
เคเอสเอสอาร์คิเทกส์ (ออกแบบกรอบอาคาร)
เปิดใช้สนาม 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (ใช้เป็นสนามแข่งกรีฑา)
10 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (ใช้เป็นสนามแข่งฟุตบอล)
ความจุ 47,805 – ฟุตบอลภายในประเทศ (2011–)[3]
47,726 – ฟุตบอลจัดโดยยูฟ่า[4]
60,000 – คอนเสิร์ต[5] และ มวย[6]
38,000 – กีฬาเครือจักรภพ 2002[7]
เจ้าของ สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์
ชื่อเดิม สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์[2]
ขนาดสนาม 105 × 68 เมตร (115 × 74 หลา)[8]
ผู้ดำเนินการ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี
ผู้รับเหมาหลัก บ. เลียงคอนสตรักชัน (ก่อสร้างเริ่มต้น)
เลียงโอรูร์ก (ดัดแปลงสนาม)
บ.วัตสันสตีล (โครงสร้างเหล็ก)
พิกัด 53°28′59″N 2°12′1″W / 53.48306°N 2.20028°W / 53.48306; -2.20028พิกัดภูมิศาสตร์: 53°28′59″N 2°12′1″W / 53.48306°N 2.20028°W / 53.48306; -2.20028
ต่อเติม ค.ศ. 2002–2003
ที่ตั้ง สปอร์ตซิตี, ถนนโรว์สลีย์
แมนเชสเตอร์, M11 3FF
ลงเสาเข็ม ธันวาคม ค.ศ. 1999[9]

ใกล้เคียง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ สนามกีฬาเวมบลีย์ สนามกีฬาลอนดอน สนามกีฬาซานมาเมส สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามกีฬาเครสตอฟสกี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ http://www.arup.com/_assets/_download/download153.... http://www.arup.com/_assets/_download/download153.... http://www.arup.com/_assets/_download/download71.p... http://www.arupassociates.com/AAH_Chrono.asp?strTa... http://www.arupassociates.com/AAH_Project2.asp?str... http://www.arupassociates.com/AAH_Project2.asp?str... http://www.flickr.com/search/?q=City%20of%20Manche... http://www.footballgroundguide.com/manchester_city... http://www.gameslegacy.com/cgi-bin/index.cgi/30 http://soccernet.espn.go.com/stats/attendance/_/le...