ประวัติ ของ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์

แผนการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ในเมืองแมนเชสเตอร์เริ่มมีขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เมืองประมูลในการเป็นผู้จัดการโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ได้เสนอการประมูลแบบสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง บริเวณพื้นที่สีเขียวทางตะวันตกของแมนเชสเตอร์ แต่การประมูลก็ตกไปเมื่อแอตแลนตาได้เป็นเมืองเจ้าภาพ อีก 4 ปีต่อมา สภาเทศบาลฯ ก็ได้ยื่นประมูลเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 แต่ครั้งนี้มุ่งตำแหน่งสนามกีฬาไปที่รกร้างทางตะวันออกของศูนย์กลางเมือง 1.6 กิโลเมตร (0.99 ไมล์) บริเวณเหมืองร้างแบรดฟอร์ดโคลเลียรี[24] หรือรู้จักในชื่อ อีสต์แลนส์ การเปลี่ยนสถานที่ของสภาเทศบาลฯ เกิดจากการออกกฎหมายผลักดันในการบูรณะเขตเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายโครงการ รัฐบาลมีส่วนในการหาเงินและทำความสะอาดสถานที่ของอีสต์แลนส์ ในปี ค.ศ. 1992[15]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 สภาเทศบาลฯ ได้เปิดประมูลรับแบบของสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง อีกแบบ[13] โดยได้บริษัทอารัป เป็นผู้ดูแลงาน บริษัทได้ช่วยเลือกอีสต์แลนด์เป็นสถานที่ก่อสร้างด้วย ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 กำหนดให้ซิดนีย์เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในปีต่อมาแมนเชสเตอร์ได้เสนอแบบเดียวให้กับโครงการปรับปรุงเมืองในช่วงสหัสวรรษ มิลเลนเนียมคอมมิสชัน โดยเสนอชื่อเป็น "มิลเลนเนียมสเตเดียม" แต่โครงการนี้ก็ตกไป ต่อมาสภาเทศบาลฯ ยังคงเสนอประมูลเจ้าภาพกีฬาเครือจักรภพ 2002 เป็นอีกครั้งที่ได้เสนอในพื้นที่เดิม และผังแบบจากการประมูลโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 และครั้งนี้ก็ประมูลสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1996 แบบสนามกีฬาเดียวกันนี้ที่ใช้ในการแข่งขันกับสนามกีฬาเวมบลีย์ ในการหาทุนในการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่[25] แต่งบก็ถูกใช้ในการพัฒนาเวมบลีย์แทน

กีฬาเครือจักรภพ 2002

สนามกีฬาได้วางศิลาฤกษ์โดยนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999[9] และเริ่มก่อสร้างในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000[26] สนามกีฬาออกแบบโดยอารัป และก่อสร้างโดยเลียงคอนสตรักชัน ด้วยงบประมาณราว 112 ล้านปอนด์[10][14] โดยได้มาจากสปอร์ตอิงแลนด์ 77 ล้านปอนด์ และที่เหลือเป็นการหารายได้จากสภาเทศบาลฯ[27] สำหรับการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ แถวที่นั่งเดี่ยวชั้นล่าง จะวิ่งไปรอบลู่วิ่งทั้ง 3 ด้าน ส่วนแถวที่นั่งชั้นบนจะวิ่งไป 2 ด้าน มีอัฒจันทร์ชั่วคราวไม่มีหลังคาคลุมที่ปลายสุด มีที่นั่งสำหรับการแข่งขันนี้ราว 38,000 ที่นั่ง[7][28]

เปิดใช้ครั้งแรกในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ 2002 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานสุนทรพจน์และเปิดพิธีแข่งขัน[29] โดยในการแข่งขัน 10 วัน สนามกีฬาใช้จัดการแข่งขันกรีฑาและรักบี้ฟุตบอล 7 คน เกิดสถิติในการแข่งขันครั้งนี้อาทิ เขย่งก้าวกระโดดหญิง และวิ่ง 5000 เมตรหญิง[30]

การดัดแปลงสนาม

สนามกีฬาเมื่อครั้งใช้ในกีฬาเครือจักรภพ มีที่นั่ง 2 ชั้น
หลังการปรับเปลี่ยน ที่นั่งมี 3 ชั้น

หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดแข่งขันกีฬาในกีฬาเครือจักรภพ 2002 แนวคิดที่จะเปลี่ยนสนามกีฬามาเป็นสนามฟุตบอลนั้นก็ได้รับเสียงวิจารณ์จากนักกีฬาอย่าง โจนาทาน เอดเวิดส์ และเซบาสเตียน โค[31] เนื่องจากสหราชอาณาจักรขาดแคลนสนามแข่งขันกรีฑา สภาเทศบาลฯ ตั้งใจไว้ว่าจะคงลู่วิ่งไว้และจะติดตั้งที่นั่งที่ถอดได้หลังจากการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ[32] โดยข้อเสนอที่ได้รับอนุญาต มีที่นั่งราว 60,000 ที่นั่ง แต่ต้องใช้งบประมาณราว 50 ล้านปอนด์[33] เมื่อเปรียบเทียบกับงบ 22 ล้านปอนด์[10][14] สำหรับการรื้อลู่วิ่งและมีความจุเพียง 48,000 ที่นั่ง บริษัทสถาปนิก อารัป เชื่อว่าจากในประวัติศาสตร์นั้น แสดงให้เห็นว่า การเก็บลู่วิ่งสำหรับการปรับเปลี่ยนมาเป็นสนามฟุตบอล โดยมากแล้วลู่วิ่งจะไม่ค่อยได้ใช้งาน และไม่เหมาะสมกับสนามฟุตบอล และยกตัวอย่างสนามอย่างเช่น สตาดีโอเดลเลอัลปี และสนามโอลิมปิก สเตเดียม มิวนิก ที่ทั้งสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสและบาเยิร์น มิวนิก ได้ย้ายมายังสนามกีฬาแห่งใหม่ไม่ถึง 40 ปีหลังใช้งานต่อ[34] สภาเทศบาลฯ ไม่อยากให้เกิดโครงการที่ดูแลรักษายาก ดังนั้น เพื่อให้สนามกีฬามีอายุการใช้งานในด้านงบการเงิน จึงดำเนินงานเพิ่มเติมโดยเปลี่ยนสนามและลู่วิ่งมาเป็นสนามกีฬาฟุตบอล

ได้มีการรื้อลู่วิ่งออกและนำไปใช้ในสนามกีฬาแห่งอื่น[35] ได้มีการทำชั้นระดับดินให้ต่ำลงมาเพื่อให้สามารถเพิ่มที่นั่งได้ และรื้ออัฒจันทร์ชั่วคราวออก แทนที่ด้วยโครงสร้างถาวร ในรูปแบบการออกแบบคล้ายกันบริเวณปลายของทิศใต้ งานนี้ใช้เวลาในการทำงานเกือบปี และเพิ่มที่นั่งอีก 10,000 ที่นั่ง[7] สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีได้ใช้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาเหย้าเมื่อเริ่มฤดูกาล 2003–04 ใช้งบประมาณในการปรับปรุงสนามเกินงบไป 40 ล้านปอนด์ โดยปรับเปลี่ยนในส่วนทางเดิน สนามแข่ง และที่นั่ง ที่ได้งบประมาณมาจากสภาเทศบาล 22 ล้านปอนด์[10][14] และเพิ่มที่จำหน่ายเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และพื้นที่สันทนาการอื่น งบประมาณส่วนนี้มาจากสโมสร ใช้งบ 20 ล้านปอนด์[10][14]

ครั้งแรกของสนาม

นัดแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกของสนาม เป็นนัดกระชับมิตรระหว่างแมนเชสเตอร์ซิตีกับบาร์เซโลนา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2003 โดยแมนเชสเตอร์ซิตีชนะ 2–1 โดยนีกอลา อาแนลกาเป็นคนยิงประตูแรกในการเปิดสนามแห่งนี้[36][37]

ส่วนการแข่งขันแรกในระบบการแข่งขัน เกิดขึ้นถัดจากนั้น 4 วัน ในถ้วยยูฟ่าคัพ ระหว่างแมนเชสเตอร์ซิตีกับทีมจากเวลส์พรีเมียร์ลีก สโมสรฟุตบอลเดอะนิวเซนส์ โดยแมนเชสเตอร์ซิตีชนะ 5–0 โดยเทรเวอร์ ซินแคลร์เป็นผู้ยิงประตูแรกในนัดการแข่งขันแรกในระบบการแข่งขันของสนามแห่งนี้[38] เมื่อเริ่มฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก แมนเชสเตอร์ซิตีเป็นทีมเยือน ดังนั้นนัดการแข่งขันที่บ้านนัดแรกของสนามแห่งนี้มีขึ้นวันที่ 23 สิงหาคม[39] ผลการแข่งขันเสมอกับสโมสรฟุตบอลพอร์ตสมัท 1–1 โดยยาคูบู ยิงประตูแรกของสนามกีฬาแห่งนี้ในการแข่งขันลีก[40]

จนถึงวันนี้ สถิติผู้เข้าชมมากสุด อยู่ที่ 47,408 คน[41] ในนัดการแข่งขันในพรีเมียร์ลีก เจ้าบ้านแข่งกับสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011[42] การแข่งขันครั้งนี้ยังสร้างสถิติใหม่ให้กับสโมสรและพรีเมียร์ลีก คือ แมนเชสเตอร์ซิตีเป็นทีมแรกที่ชนะ 11 เกม จาก 12 เกมแรกของฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก[43]

ใกล้เคียง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ สนามกีฬาเวมบลีย์ สนามกีฬาลอนดอน สนามกีฬาซานมาเมส สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามกีฬาเครสตอฟสกี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ http://www.arup.com/_assets/_download/download153.... http://www.arup.com/_assets/_download/download153.... http://www.arup.com/_assets/_download/download71.p... http://www.arupassociates.com/AAH_Chrono.asp?strTa... http://www.arupassociates.com/AAH_Project2.asp?str... http://www.arupassociates.com/AAH_Project2.asp?str... http://www.flickr.com/search/?q=City%20of%20Manche... http://www.footballgroundguide.com/manchester_city... http://www.gameslegacy.com/cgi-bin/index.cgi/30 http://soccernet.espn.go.com/stats/attendance/_/le...