การออกแบบและก่อสร้าง ของ สนามกีฬาลอนดอน

ภาพถ่ายทางอากาศของสนาม ขณะก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีการเปิดตัวแบบของสนามแห่งนี้ โดยสถาปนิกมืออาชีพอย่างปอปูลัส (Populous) ซึ่งเชี่ยวชาญการออกแบบอาคารกีฬาและศูนย์การประชุม ตลอดจนการเขียนแบบของกิจกรรมพิเศษที่สำคัญ[9] การก่อสร้างใช้เวลา 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)

สนามกีฬาลักษณะพิเศษขนาด 80,000 ที่นั่งแห่งนี้ เป็นจุดศูนย์กลางของการแข่งขันที่ลอนดอน ด้วยการเป็นเจ้าภาพของพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน รวมถึงการเป็นสนามแข่งขันกรีฑา อนึ่ง หลังจากลอนดอนเกมส์ สนามจะลดจำนวนที่นั่งถาวรลงเป็น 60,000 ที่นั่ง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) มีการดำเนินงานขุดชั้นดินอ่อนออกจากพื้นที่ เพื่อเตรียมการปูสนามหญ้าและลู่วิ่ง รายล้อมไปด้วยที่นั่งถาวรจำนวน 25,000 ที่นั่ง ซึ่งประกอบขึ้นโดยใช้คอนกรีตชนิดเหลว บนพื้นดินที่ลาดเอียงตามธรรมชาติ ซึ่งใต้อัฒจันทร์ช่วงนี้เป็นพื้นที่อบอุ่นร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้า ด้วยการขุดลงไปเป็นชั้นกึ่งใต้ดิน ถัดไปเป็นช่วงคอนกรีตเสริมเหล็กสูงขึ้นทีละขั้น เพื่อรองรับผู้ชมอีก 55,000 คน[10]

ใกล้เคียง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต สนามกีฬาลอนดอน สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามกีฬาเครสตอฟสกี สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนามกีฬาลอนดอน http://www.gamesbids.com/eng/other_news/1216135963... http://www.london-stadium.com http://www.london2012.com http://www.london2012.com/venue/olympic-stadium //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.bbc.co.uk/news/uk-england-london-117464... http://www.bbc.co.uk/news/uk-england-london-124245... http://www.building.co.uk/story.asp?sectioncode=58... http://www.e-architect.co.uk/london/london_olympic... https://www.london-stadium.com/faq/