สปิน_(ฟิสิกส์)

ในการศึกษาด้านกลศาสตร์ควอนตัมและฟิสิกส์อนุภาค สปิน (อังกฤษ: spin) คือคุณลักษณะพื้นฐานของอนุภาคมูลฐาน, อนุภาคประกอบ (ฮาดรอน) และนิวเคลียสอะตอม1อนุภาคมูลฐานประเภทเดียวกันทุกตัวจะมี เลขควอนตัมสปิน เลขเดียวกัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสถานะควอนตัมของอนุภาค เมื่อรวมเข้ากับทฤษฎีสถิติของสปิน (spin-statistics theorem) สปินของอิเล็กตรอนจะส่งผลตามหลักการกีดกันของเพาลี อันเป็นตัวการเบื้องหลังของตารางธาตุ ทิศทางสปิน (บางครั้งก็เรียกย่อๆ ว่า "สปิน") ของอนุภาคหนึ่งเป็นองศาอิสระภายในที่สำคัญของอนุภาคนั้นโวล์ฟกัง เพาลี เป็นบุคคลแรกที่เสนอแนวคิดเรื่องของสปิน แต่เขายังไม่ได้ตั้งชื่อให้กับมัน ปี ค.ศ. 1925 Ralph Kronig, George Uhlenbeck, และ Samuel Goudsmit นำเสนอการแปลความทางฟิสิกส์ของอนุภาคที่หมุนไปรอบแกนของตัวเอง เพาลีทำการศึกษาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์เชิงลึกในปี 1927 เมื่อพอล ดิแรกคำนวณกลศาสตร์ควอนตัมเชิงสัมพัทธ์ของเขาในปี 1928 นั้น สปินของอิเล็กตรอนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดสปินเป็นโมเมนตัมเชิงมุมประเภทหนึ่ง โดยที่โมเมนตัมเชิงมุมมีนิยามตามแบบสมัยใหม่ว่าเป็น "ตัวกำเนิดการหมุน"[1][2] แต่คำนิยามโมเมนตัมเชิงมุมแบบใหม่นี้ไม่ใช่อันเดียวกันกับคำนิยามในกลศาสตร์ดั้งเดิม L = r × p (คำนิยามแบบเดิมในประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้หมายรวมถึงสปิน แต่มีชื่อเรียกจำเพาะเจาะจงว่า orbital angular momentum)ในเมื่อสปินเป็นโมเมนตัมเชิงมุมประเภทหนึ่ง ดังนั้นมันจึงมีหน่วยวัดแบบเดียวกัน คือ J·s ตามระบบเอสไอ อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติแล้วเราไม่ค่อยใช้ระบบเอสไอในการอธิบายถึงสปิน แต่มักจะเขียนเป็นรูปตัวคูณของค่าคงตัวของพลังค์แบบลดรูป คือ ħ ตามหน่วยธรรมชาติแล้ว ħ นั้นไม่มีหน่วย ดังนั้นจึงยึดถือหลักเดียวกันกับสปินด้วย แต่ถ้าว่าตามนิยามของ "จำนวนควอนตัมของสปิน" แล้ว จะต้องไม่มีหน่วยเสมอ