ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ ของ สปีชีส์เฝ้าระวัง

มีตัวอย่างนับไม่ถ้วนของผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมสัตว์ ที่ต่อมาถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ตัวอย่างแบบดั้งเดิมได้แก่ "นกคีรีบูนในเหมืองถ่านหิน" ความคิดให้นำนกคีรีบูนหรือสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่นเข้าไปในเหมืองเพื่อตรวจจับคาร์บอนมอนอกไซด์ถูกเสนอโดย John Scott Haldane เป็นคนแรกในค.ศ. 1913 หรือหลังจากนั้น[2][3][4] ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักขุดเหมืองถ่านหินนำนกคีรีบูนเข้าไปในเหมืองถ่านหินเพื่อเป็นสัญญาณเตือนของก๊าซพิษ โดยเฉพาะคาร์บอนมอนอกไซด์[5] ด้วยความที่นกไวต่อก๊าซพิษมากกว่า ทำให้พวกมันป่วยก่อนนักขุดเหมืองซึ่งมีโอกาสหนี หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ

ในเมืองมินะมะตะวัง ประเทศญี่ปุ่น แมวมักมีอาการ "ไข้แมวเต้น" ก่อนมนุษย์จะได้รับผลกระทบจากการกินปลาที่ปนเปื้อนสารปรอท[6] ตั้งแต่ค.ศ. 1939 สุนัขถูกพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมทอนซิลมากกว่ามนุษย์เมื่อถูกเลี้ยงในเมือง[6] หลายงานวิจัยพบโอกาสเกิดโรคในสัตว์สูงขึ้นเมื่ออยู่กับควันบุหรี่[6] โรคยูโช (Yushō disease) ถูกพบในลักษณะคล้ายกัน เมื่อสัตว์ปีกเริ่มตายในระดับที่น่าตกใจเนื่อจากพิษโพลีคลอริเนตไบฟีนิล (polychlorinated biphenyl) หรือ พีซีบี หลังจากมีคนได้รับผลกระทบประมาณ 14,000 คน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สปีชีส์เฝ้าระวัง http://caselaw.findlaw.com/ms-court-of-appeals/163... http://molluscan-eye.epoc.u-bordeaux1.fr/index.php... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2167126 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20474365 //doi.org/10.1017%2FS0022172400003399 http://archive.rubicon-foundation.org/6016 http://archive.rubicon-foundation.org/7489 //en.wikipedia.org/wiki/Special:BookSources/080312... //en.wikipedia.org/wiki/Special:BookSources/156670... //www.worldcat.org/issn/0813-1988