ประวัติ ของ สภาทนายความ_(ประเทศไทย)

สืบเนื่องมาจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ที่ได้มีการจำกัดสิทธิของทนายความ และเกิดผลกระทบต่อทนายความชั้นสอง รวมไปถึงประชาชนต่าง ๆ ที่มีความต้องการความรู้ความสามารถของทนายความชั้นสอง จึงทำให้เกิดประกายแห่งแนวความคิดในการก่อตั้งสถาบันของทนายความเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพของทนายความเอง เช่นเดียวกันกับนานาประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2517 นายมารุต บุนนาค นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะนั้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความเพื่อก่อตั้ง "สภาทนายความ" เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทนายความการเคลื่อนไหวและต่อสู้ที่เป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปี จึงได้ประสบความสำเร็จ โดยวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ที่ประชุมวุฒิสภาในการประชุมครั้งที่ 11/2528 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทนายความ และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 102 ตอน 129 วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน

ปัจจุบัน ว่าที่ร้อยตรี ดร. ถวัลย์ รุยาพร ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกทนายความทั่วประเทศให้ดำรงตำแหน่ง นายกสภาทนายความ โดยเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2562 และ พ.ศ. 2562-2565

ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม[1] โดยเป็นผู้ผลักดันโครงการทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจ ตามแผนการปฏิรูปประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วน (Quick Win) ของรัฐบาล ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

ใกล้เคียง

สภาทนายความ (ประเทศไทย) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 สภาทอล์ค สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) สภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาพนำยวดยิ่ง สภานิติบัญญัติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)