คำอธิบาย ของ สภาพให้ซึมผ่านได้ทางแม่เหล็ก

ในทางทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ค่าความแรงสนามแม่เหล็ก H อธิบายว่าการเหนี่ยวนำที่ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก B ส่งผลต่อกระจุกของไดโพลแม่เหล็กในตัวกลางเฉพาะอย่างไร รวมถึงการเคลื่อนตัวของไดโพลและการปรับทิศทางของไดโพลแม่เหล็ก ความสัมพันธ์กับค่าสภาพให้ซึมผ่านได้ของแม่เหล็ก μ {\displaystyle \mu } คือ:

B = μ H {\displaystyle \mathbf {B} =\mu \mathbf {H} }

สภาพให้ซึมผ่านได้ μ จะเป็นปริมาณสเกลาร์ในตัวกลางไอโซทรอปิก และเป็นเทนเซอร์ในตัวกลางแอนไอโซทรอปิก

โดยทั่วไป ค่าสภาพให้ซึมผ่านได้จะไม่คงที่ โดยอาจแปรผันตามตำแหน่งภายในตัวกลาง ความถี่ของสนาม รวมถึง ความชื้น อุณหภูมิ และพารามิเตอร์อื่น ๆ ในตัวกลางแบบไม่เชิงเส้น สภาพให้ซึมผ่านได้จะขึ้นอยู่กับความแรงสนามแม่เหล็ก สภาพให้ซึมผ่านได้เป็นฟังก์ชันของความถี่ อาจเป็นค่าจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อนได้ สำหรับในวัสดุเฟอโรแมกเนติก ความสัมพันธ์ระหว่าง B และ H นั้นจะไม่เป็นเชิงเส้น นั่นคือ B ไม่ใช่ฟังก์ชันที่เป็นแค่ค่าคงตัวคูณกับ H[2] แต่ยังขึ้นอยู่กับประวัติความเปลี่ยนแปลงภายในตัววัสดุด้วย สำหรับวัสดุเหล่านี้ บางครั้งพิจารณาถึงสภาพให้ซึมผ่านได้ของแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้น

Δ B = μ Δ Δ H . {\displaystyle \Delta \mathbf {B} =\mu _{\Delta }\Delta \mathbf {H} .}

สภาพให้ซึมผ่านได้คือความเหนี่ยวนำไฟฟ้าต่อหน่วยความยาว ในระบบหน่วยสากล หน่วยของสภาพให้ซึมผ่านได้คือ เฮนรีต่อเมตร (H·m -1 = J/(A2·m) = N·A-2) ความแรงสนามแม่เหล็ก H คือ กระแสไฟฟ้าต่อหน่วยความยาว มีหน่วยเป็น แอมแปร์ต่อเมตร (A·m−1) ดังนั้น μH จึงเป็นค่าเป็นความเหนี่ยวนำคูณด้วยกระแสไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่ (H·A/m2) แต่ความเหนี่ยวนำคือ ฟลักซ์แม่เหล็กต่อหน่วยกระแสไฟฟ้า ดังนั้นผลคูณจึงเป็นฟลักซ์แม่เหล็กต่อหน่วยพื้นที่ด้วย ในขณะที่ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก B มีหน่วยเป็นเวเบอร์ (โวลต์ วินาที) ต่อตารางเมตร (V·s/m2) หรือ เทสลา (T)

ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก B เกี่ยวพันกับแรงโลเรินตส์ของประจุเคลื่อนที่ q

F = q ( E + v × B ) {\displaystyle \mathbf {F} =q(\mathbf {E} +\mathbf {v} \times \mathbf {B} )}

หน่วยของประจุ q คือ คูลอมบ์ (C) และความเร็ว v คือ m/s ดังนั้นแรง F จึงคำนวณเป็นนิวตัน (N):

q v × B = C ⋅ m s ⋅ V ⋅ s m 2 = C ⋅ ( J / C ) m = J m = N {\displaystyle q\mathbf {v} \times \mathbf {B} ={\mbox{C}}\cdot {\dfrac {\mbox{m}}{\mbox{s}}}\cdot {\dfrac {{\mbox{V}}\cdot {\mbox{s}}}{{\mbox{m}}^{2}}}={\dfrac {{\mbox{C}}\cdot ({\mbox{J / C}})}{\mbox{m}}}={\dfrac {\mbox{J}}{\mbox{m}}}={\mbox{N}}}

ส่วนความแรงสนามแม่เหล็ก H เกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของไดโพลแม่เหล็ก ไดโพลแม่เหล็กเป็นวงจรกระแสปิด โมเมนต์แม่เหล็ก ของมันคือกระแสคูณด้วยพื้นที่ หน่วยคือแอมแปร์ เมตรกำลังสอง (A·m2) และมีค่าเท่ากับกระแสบนขดลวดคูณจำนวนรอบ[3] H เป็นสัดส่วนกับไดโพลที่ระยะห่างจากมัน และขนาดของ H เป็นสัดส่วนกับโมเมนต์ไดโพลหารด้วยกำลังสามของระยะทาง[4] และมีความหมายในทางฟิสิกส์คือกระแสต่อหน่วยความยาว

ใกล้เคียง

สภาพให้ซึมผ่านได้ทางแม่เหล็ก สภาพให้ซึมผ่านได้ของหลอดเลือด สภาพให้ซึมผ่านได้ สภาพให้ซึมผ่านได้ของสุญญากาศ สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สภาพแข็งทื่อหลังตาย สภาพนำยวดยิ่ง สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท สภาพพาสซีฟ สภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภาพให้ซึมผ่านได้ทางแม่เหล็ก http://www.lightandmatter.com/html_books/0sn/ch11/... http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/solids/... http://physics.nist.gov/cuu/Units/ampere.html http://www.ee.surrey.ac.uk/Workshop/advice/coils/m... https://archive.org/details/classicalelectro00jack... https://web.archive.org/web/20120603060037/http://... https://web.archive.org/web/20161208012925/http://... https://web.archive.org/web/20170425134625/http://... https://web.archive.org/web/20230331101123/http://...