ลักษณะทั่วไปของสภาสูง ของ สภาสูง

ระบบรัฐสภา

ในประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา เช่น ประเทศไทย ประเทศอังกฤษ สภาสูงมีหน้าที่ตรวจสอบกฎหมายที่รัฐบาลหรือสภาล่างประกาศใช้ในสถานการณที่มีความจำเป็นรีบด่วน, มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมาย ซึ่งสภาล่างอาจไม่ปฏิบัติตามก็ได้ เช่น สภาขุนนาง (สภาสูง) ของอังกฤษ ที่กฎหมายไม่ให้อำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมาย เพียงแต่มีอำนาจในการถ่วงการพิจารณาเอาไว้เพื่อให้รัฐบาลหรือสภาล่างนำกลับไปพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ แม้สภาสูงจะไม่มีอำนาจเช่นว่า แต่บรรดาสภาสูงส่วนใหญ่ก็อาจขอให้สภาล่างนำร่างกฎหมายกลับไปพิจารณาใหม่ได้ เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองจากการออกกฎหมายโดยไม่ความรอบคอบ

ในประเทศที่ใช้ระบบดังกล่าว มักเห็นว่าสภาสูงเป็นที่ปรึกษา หรือเป็น "บรรณาธิการ" พิจารณาร่างกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ อำนาจในทางนิติบัญญัติของสภาสูงจึงมีจำกัด คือ

  • ไม่มีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหาร (บางประเทศ) เช่น ในประเทศไทย วุฒิสภามีอำนาจตั้งกระทู้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล หากพบว่ารัฐบาลปฏิบัติการไม่เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งอาจนำไปสู่ความระส่ำระสายของรัฐบาลและการยุบสภาผู้แทนราษฎรได้
  • มีอำนาจน้อยในการเสนอกฎหมาย เช่น ในประเทศไทย วุฒิสภาไม่อาจเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ แต่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา วุฒิสภามีหน้าที่วิจารณ์ แก้ไข และพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายที่เสนอมา
  • ไม่มีอำนาจในการยับยั้งการออกกฎหมาย (ยกเว้นบางประเทศ) โดยเฉพาะเกี่ยวกับร่างกฎหมายด้านการเงิน เช่น ร่างพระราชบัญญัติหรือรัฐบัญญัติงบประมาณ แล้ว สภาสูงไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในร่างกฎหมายได้เลย แต่คงมีอำนาจในการพิจารณาอยู่ (ดูตัวอย่างใน เหตุการณ์วิกฤติทางด้านรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2519 (1975 Australian Constitutional Crisis)

อย่างไรก็ดี สภาสูงแห่งบางประเทศหรือบางรัฐก็มีอำนาจมากกว่าที่ระบุไว้ข้างต้น เช่น มีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณา (ส่วนใหญ่ไม่รวมกฎหมายงบประมาณและการเงิน) กับทั้งบางครั้งรัฐธรรมนูญของบางประเทศอาจกำหนดให้สภาสูงมีอำนาจแก้ไขภาวะทางตันทางการเมืองก็มี

ในระยะหลัง ในบางประเทศมีการยุบเลิกสภาสูงเสีย เนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของสภาสูงอีกต่อไป อนึ่ง การร่างรัฐธรรมนูญของหลายประเทศตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา มักกำหนดไม่ให้สภาสูงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของฝ่ายบริหาร เพื่อไม่ให้สมาชิกสภาสูงฝักไฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นผลเสียได้

ระบบประธานาธิบดี

ในประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดี สภาสูงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับในประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา แต่มักได้รับอำนาจเพิ่มเติมเพื่อชดเชยข้อจำกัด เช่น

  • มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง ถอดถอน หรือโยกย้ายข้าราชการระดับสูง
  • มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการให้สัตยาบรรณ ตลอดกระทำนิติกรรมที่ผลผูกพันประเทศ เป็นต้น

ใกล้เคียง

สภาสูง สภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูประชาธิปไตย สภาสูงสุดสำหรับการสร้างชาติใหม่ สภาสูงสุดแห่งชาติ สภาสังคายนาสากล สภาสังคมนิยมชาตินิยมแห่งนาคาแลนด์ สภาสังฆาธิการนครรัฐวาติกัน